อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง)
สื่อการเรียนการสอนเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาด้านฮาร์ดดิสก์
ประวัติ ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน โดยมีความจุเริ่มแรกที่ 100kb มีขนาด 20 นิ้ว
วิธีดูแล ฮาร์ดดิสก์ของคุณ
1. สแกนหาไวรัส
2. ปัดกวาดไฟล์หรือขยะที่ไม่ได้ใช้
3. กำจัดขยะในซอกหลืบ
4. หมั่นใช้สแกนดิสก์
5. จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ
6. เก็บทุกอย่างให้เข้าที่
7. แบ็กอัปข้อมูล
8. เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง
9. แบ่งพาร์ทิชันเพื่อเก็บข้อมูล
10. เลือกความเร็วให้เหมาะกับงาน
ขนาดและความจุ
แนวโน้มในการเพิ่มขึ้นของการพัฒนาฮาร์ดดิสก์ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 2 เทระไบต์
ขนาดความหนา 8 inch: 9.5 นิ้ว×4.624 นิ้ว×14.25 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตร×117.5 มิลลิเมตร×362 มิลลิเมตร)
ขนาดความหนา 5.25 inch: 5.75 นิ้ว×1.63 นิ้ว×8 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร×41.4 มิลลิเมตร×203 มิลลิเมตร)
ขนาดฮาร์ดดิสในอดีต
รุ่นและขนาดฮาร์ดดิสตั้งแต่ 8″ 5.25″ 3.5″ 2.5″ 1.8″ และ 1″ปัจจุบันภายในปี 2551 มีประเภทของฮาร์ดดิสก์ต่อไปนี้
ขนาดความหนาขนาดความหนา 3.5 นิ้ว = 4 นิ้ว×1 นิ้ว×5.75 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร×25.4 มิลลิเมตร×146 มิลลิเมตร) = 376.77344cm³
เป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Desktop PC หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ Server ความเร็วในการหมุนจาน 10,000 7,200 5,400 RPM ตามลำดับ โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 GB ถึง 2 TB
ขนาดความหนา 2.5 = 2.75 นิ้ว× 0.374–0.59 นิ้ว×3.945 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร×9.5–15 มิลลิเมตร×100 มิลลิเมตร) = 66.3575cm³-104.775cm³
นิ้วเป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา Notebook , Laptop ,UMPC,Netbook, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา ความเร็วในการหมุนจาน 5,400 RPM โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 GB ถึง 320 GB
ขนาดความหนา1.8 นิ้ว: 54 มิลลิเมตร×8 มิลลิเมตร×71 มิลลิเมตร= 30.672cm³
ขนาดความหนา1 นิ้ว: 42.8 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×36.4 มิลลิเมตร
ขนาดความหนา0.85 นิ้ว: 24 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×32 มิลลิเมตร
ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี RAID รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS network attached storage เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว และระบบ SAN storage area network เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล
วิธีการตรวจหาพื้นที่ดิสก์เสียหาย
ถึงแม้จะมีโปรแกรมต่างๆ จำนวนมากที่สามารถแสดงให้คุณเห็นถึงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ได้ แต่หากไม่ต้องการใช้โปรแกรมอื่นๆ ที่ต้องไปหาเพิ่มเติมมา ระบบปฏิบัติการวินโดว์สเองก็มียูทิลิตี้ให้ใช้งานได้ โดยมีชื่อว่า Windows Scandisk (คลิกปุ่ม Start -> All Programs -> Accessories -> System Tools) หรือโปรแกรม CHKDSK (Check Disk) เดิมนั่นเอง
สำหรับการใช้งาน CHKDSK ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ที่หน้าเดสก์ทอป คลิกปุ่ม Start -> Run
2. พิมพ์คำสั่ง command ในช่อง run แล้วคลิกปุ่ม OK หรือกดปุ่ม [Enter]
3. ในหน้าต่าง DOS ให้พิมพ์คำสั่ง chkdsk แล้วกดปุ่ม [Enter]
4. หลังจากที่มีการสแกนฮาร์ดดิสก์เสร็จเรียบร้อยแล้ว CHKDSK จะแสดงรายงานให้ทราบ ให้มองหาคำว่า “bad sectors” ที่อยู่ในรายงาน ซึ่งจะมีตัวเลขแสดงพื้นที่ที่เสียหายระบุไว้
หากมีพื้นที่ที่เสียหายอยู่บนฮาร์ดดิสก์ CHKDSK สามารถที่จะซ่อมแซมพื้นที่ดังกล่าวนั้น โดยการปิดกั้นไม่ให้เข้าไปใช้งานพื้นที่ดังกล่าวอีก ซึ่งวิธีการสั่งให้ทำการแก้ไขนั้น ให้พิมพ์คำสั่ง “chkdsk/f”
เมื่อ CHKDSK แสดงหน้าต่างรายงานผลและดูข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้พิมพ์คำสั่ง “exit” และกดปุ่ม [Enter] เพื่อกลับสู่วินโดว์ส
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และปัจจุบัน มูลค่าส่งออกมากกว่า 1.4 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 32 ของมูลค่าการส่งออกของประเทศ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมของประเทศที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 ให้จัดทำแผนปฏิบัติการปรับโครงสร้าง โดยตั้งเป้าหมายว่าอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะทำให้มูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดหลังการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพิ่มจาก 2.3 ล้านล้านบาทในปี 2547 เป็น 3.3 ล้านล้านบาทในปี 2551 เนื่องจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศ และความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
สำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และชิ้นส่วน โดยในปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ทั้งที่สำเร็จรูปและที่เป็นชิ้นส่วนได้สูงถึง 415,711 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของการส่งออกสินค้าไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 10 ของการส่งออกโดยรวมของทั้งประเทศ
นอกจากนั้นในปีเดียวกันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตและส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์อันดับ 1 ของโลกเป็นปีแรกโดยมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 42 ของตลาดโลก การที่การผลิตและส่งออกจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รายใหญ่ของโลกถึง 4 บริษัท คือ Seagate, Hitachi Global Storage Technology (HGST), Western Digital (WD), และ Fujitsu/Toshiba (ข้อมูลแสดงในตารางที่ 1) ได้เข้ามาตั้งฐานการผลิตอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะภายหลังรัฐบาลประกาศให้มีการส่งเสริมการลงทุนเป็นการเฉพาะสำหรับกิจการประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2547 บริษัทเหล่านี้ต่างขยายกำลังการผลิตจนทำให้ประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่สำคัญของโลกอีกประเทศหนึ่ง นอกเหนือจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน
องค์ประกอบหลักที่สำคัญของฮาร์ดดิสก์โดยพื้นฐานมีดังนี้ี้
จานฮาร์ดดิสก์ (Disk Platters)
หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ (Read/Write Heads)
-แขนที่ใช้ขับเคลื่อนหัวฮาร์ดดิสก์ (Head Arm/Head Slide)
-มอเตอร์ที่ใช้หมุนจานฮาร์ดดิสก์ (Spindle Motor)
-ตัวดักจับไฟฟ้าสถิตย์ (Spindle Ground Strap)
-แผงวงจรควบคุมการทำงานของฮาร์ดดิสก์ (Logic Board)
-ส่วนที่ใช้กรองอากาศ (Air Filter)
-สายสัญญาณและ Connector (Cables and Connectors)
-กลไกที่ใช้ขับเคลื่อนหัวฮาร์ดดิสก์ (Head Actuator Mechanism)
-Jumper ที่ใช้จัดตั้ง Configuration ของฮาร์ดดิสก์
-รางและอุปกรณ์เสริมการติดตั้งฮาร์ดดิสก์
-แผงวงจร Head Amplifier
-ชุด Voice Coil
-สาย Pair Ribbon ที่เชื่อมระหว่างหัวฮาร์ดดิสก์ กับ Logic Board
-จานฮาร์ดดิสก์ (Disk Platter)
เป็นส่วนประกอบในรูปแบบของจานโลหะติดตั้งอยู่ภายในตัวฮาร์ดดิสก์โดยจำนวนของ Disk Platter มีขนาด และจำนวนแผ่นในฮาร์ดดิสก์ของแต่ละรุ่นจะไม่เท่ากัน ขนาดของ Platter เรียกว่า Form Factor ของฮาร์ดดิสก์ มีขนาดต่างๆ ดังนี้
-"5.25" หรือ 5.12 นิ้ว
-"3.5" หรือ 3.74 นิ้ว
-"2.5" นิ้ว
-"1 1/8" นิ้ว
-"1 1/3" นิ้ว
อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง)
jadsadar@hotmail.com
มือถือ 080-7158480
Next
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น