วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัติการทำงาน




ประวัติการทำงาน และ ประวัติการศึกษา
อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง) เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา

เทคโนโลยี (อังกฤษ: Educational Technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน

เทคโนโลยี เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้

นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet]

นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

ประวัติการทำงาน และ ประวัติการศึกษา มีอีกน่ะครับ ติตตาม !



อาจารย์เจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง)
jadsadar2@hotmail.com
มือถือ 080 - 7158480



                                                         Next







ประวัติการทำงานทางการศึกษาฉบัยย่อ




อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง) อดีตตำแหน่งครูอัตราจ้างโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล
โรงเรียนราชประชาอนุเคราะห์เป็นโรงเรียนที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2525 ในการซ่อมสร้างโรงเรียน 12 แห่งบริเวณตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้รับความเสียหายจากพายุโซนร้อน “แฮเรียด”
หลังจากนั้น ก็ได้มีโครงการก่อสร้างโรงเรียนราชประนุเคราะห์แห่งอื่นเรื่อยมา เช่นโครงการก่อสร้างโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35-38 ที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ และระนอง โดยสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กกำพร้าที่บิดามารดาเสียชีวิตจากมหันตภัยคลื่นยักษ์ สึนามิในปลายปี พุทธศักราช 2547 และต่อมา เพื่อเป็นการช่วยเยาวชนในพื้นที่ชายแดนใต้ ที่ประสบภัยกับปัญหาความไม่สงบให้ได้รับการศึกษาและแก้ไขปัญหาสังคม ทางรัฐบาล ในสมัยนั้นจึงได้ขอให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ฯร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และกองทัพบก ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ขึ้นอีก 5 แห่งใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ โดยท่านประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ฯมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ฯ ประจำจังหวัดเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันมหามงคลของคนไทยทั้งชาติ

วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2549 ซึ่งเป็นวันที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศมีความปิติเนื่องในการเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี กระทรวงศึกษาธิการได้ถือเป็นโอกาสประกาศตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทั้ง 5 แห่งคือ

1.โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 39 จังหวัดนราธิวาส

2. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 40จังหวัดปัตตานี

3. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา

4. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัด สตูล

5. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 43 จังหวัดสงขลา

สำหรับสถานที่ตั้งของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล ตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองขุดและตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล เนื้อที่ 260 ไร่ 3 งาน 139 ตารางวา โดยใช้งบจัดตั้งในงวดแรกปีงบประมาณ 2549-2551 จำนวน 139,760,495 บาท ในการก่อสร้างอาคารเรียน หอประชุม หอพักนักเรียน บ้านพักครู-นักการ โรงหุมต้มและประกอบอาหาร โรงอาบน้ำนักเรียน โรงฝึกงาน อาคารพยาบาล สนามบาส สนามฟุตบอล เป็นต้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปีพุทธศักราช 2549
2. เพื่อรองรับเด็กด้อยโอกาส เด็กกำพร้า เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 5 จังหวัดชายแดนใต้
3. เพื่อเสริมสร้างโอกาสและความเสมอภาคให้แก่เด็กด้อยโอกาสในจังหวัดชายแดนใต้ ให้ได้รับบริการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและมีคุณภาพ
4. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาตลอดจนปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีความรักชาติ

การรับนักเรียนของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล
รับนักเรียนในเขตพื้นที่บริการได้แก่เด็กที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสตูลและใกล้เคียง 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสตูล อำเภอละงู อำเภอควนกาหลง อำเภอควนโดน อำเภอท่าแพ อำเภอทุ่งหว้า และ กิ่งอำเภอมะนัง
คุณสมบัติของนักเรียนที่สามารถเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ได้แก่เด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา ซึ่งหมายถึง เด็กที่อยู่ในสภาวะยากลำบากมีชีวิตความเป็นอยู่ด้อยกว่าเด็กทั่วไป จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัย และสามารถบรรลุศักยภาพขั้นสูงสุดได้ ซึ่งได้แก่
- นักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบจาก 3 จังหวัดภาคใต้
- นักเรียนที่ถูกทอดทิ้งหรือนักเรียนกำพร้า หมายถึง เด็กที่ถูกบิดามารดาทอดทิ้งให้ อยู่ตามลำพังหรือกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาหย่าร้าง ครอบครัวแตกแยก เป็นต้น
- เด็กยากจนมากเป็นพิเศษ หมายถึง เด็กซึ่งเป็นบุตรหลานคนยากจน ที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ครอบครัวอยู่รวมกันหลายคน ขาดแคลนปัจจัยพื้นฐาน มีชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก รวมถึงเด็กในแหล่งชุมชนแออัด หรือบุตรกรรมกรก่อสร้าง เด็กจากครอบครัวที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลที่ขาดโอกาสที่จะได้รับการศึกษา และบริการอื่นๆ
- เด็กในชนกลุ่มน้อย หมายถึง เด็กที่เป็นบุตรหลานของบุคคลที่มีวัฒนธรรมแตกต่างไปจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มีชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก และมีปัญหาเกี่ยวกับการถือสัญชาติไทย เป็นสามเหตุให้ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาหรือบริการอื่นๆ เช่นชาวเขา ชาวเล เป็นต้น
- เด็กเร่ร่อน ไม่มีที่อาศัยพักพิงเป็นหลักแหล่งแน่นอน ขาดปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
- เด็กอื่นๆที่ขาดโอกาสทางการศึกษา
โดยจัดการเรียนการสอนในระดับช่วงชั้นที่ 1 ช่วงชั้นที่ 2 ช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้น ที่ 4 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6)
-สำหรับในปีการศึกษา 2550 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล ได้เปิดรับนักเรียนในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1,2,3,4,5,6 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รวม 7 ชั้น และจะเปิดทำการเรียนการสอนเป็นปีแรกในวันที่ 9 มิถุนายน 2550 โดยใช้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล เป็นสถานที่สำหรับจัดการเรียนการสอนและที่พักนักเรียนเป็นการชั่วคราว ซึ่งคาดว่าจะเข้าไปใช้สถานที่ของโรงเรียน ณ ตำบลคลองขุดได้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550

การให้ความช่วยเหลือนักเรียนในเบื้องต้น
1. เด็กได้รับการช่วยเหลือโดยจัดที่พักให้อยู่ประจำ
2. จัดอาหารเลี้ยง 3 มื้อ
3. ให้เครื่องแต่งกายนักเรียน เป็นชุดนักเรียน ชุดพละ
4. ให้อุปกรณ์การเรียน
5. วัสดุเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสระผม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน
6. ของใช้จำเป็นอื่นๆจากมูลนิธิ

การจัดการเรียนการสอน

จัดการเรียนการสอนเหมือนโรงเรียนปกติทั่วไป คือใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544แต่จะส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กมีความรู้พื้นฐานวิชาชีพ เมื่อจบหลักสูตรไปแล้ว สามารถไปประกอบอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ พึ่งตนเองได้ โดยจะจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรได้แก่การส่งเสริมอาชีพให้นักเรียนสามารถหารายได้ระหว่างเรียน จัดกิจกรรมการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรม สำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนดี จะได้รับการส่งเสริมให้เรียนต่อในระดับสูงขึ้นจากมูลนิธิ


อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง ) อดีตครูโรงเรียนศิริเพ็ญ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
โรงเรียนศิริเพ็ญได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2487 รวมระยะเวลากว่า 68 ปี โดยเปิดการดำเนินการเรียนการสอนครั้งแรกขึ้นที่บริเวณ ซอยแม้นศรี 4 ถนนบำรุงเมือง เขตป้อมปราบในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ดำเนินการ บริหารโดยคุณครูทองอยู่ ธีระภาพ ซึ่งในขณะนั้นท่านเป็นผู้รับใบอนุญาต หลังจากนั้นโรงเรียนได้ย้ายไปอยู่ที่หลังวัด ปทุมวนาราม
นักเรียนของโรงเรียนศิริเพ็ญ ต้องเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม รับผิดชอบ กตัญญูกตเวทีฝึกฝนการพัฒนาตนเองตลอดเวลาจนเกิดทักษะ ไตร่ตรอง แสวงหา คิดวิเคราะห์ หาสาเหตุ-ผล ข้อดี-ข้อเสียในการแก้ปัญหา รักการเรียนรู้ รักษาสุขภาพและฝึกจิตให้มีความเป็นสุนทรียภาพ มีจินตนาการคาดการณ์และกำหนดเป้าหมายด้วยความขยัน หมั่นเพียรในการเรียนรู้ รักการทำงานมีเจตคติที่ดีต่อทุกอาชีพที่สุจริต เพื่อตนเองและชุมชน โดยไม่ให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน

มีอีกน่ะครับติดตาม โรงเรียน ฯลฯ



อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ ( ครูเต้ง )
มือถือ 080- 7158480
jadsadar2@hotmail.com



                                                             Next

สื่อการเรียนการสอนเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา ด้านคอมพิวเตอร์


อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ ( ครูเต้ง )

ประเภทของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ

เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม

สรุปอาการเสียและการแก้ไขปัญหายอดฮิตของคอมพิวเตอร์
อาการเสียของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลายสาเหตุ สามารถวิเคราะห์อาการเสียเบื้องต้นได้ดังนี้
อาการ บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว ทุกอย่างไม่ทำงานและเงียบสนิท
ให้ตรวจสอบที่พัดลมด้านท้ายเครื่องว่าหมุนหรือไม่ หากไม่หมุนอาจเป็นไปได้ว่าปลั๊กไฟเสีย หรืออาจขาดใน และให้เข้าไปเช็คที่ฟิวส์ของเพาเวอร์ซัพพลาย หากฟิวส์ขาดให้ซื้อฟิวส์รุ่นเดียวกันมาเปลี่ยน แต่ถ้าเพาเวอร์ซัพพลายเสีย ควรแนะนำลูกค้าให้เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายใหม่

อาการ บูตเครื่องแล้วจอมืด แต่ไฟ LED หน้าจอและไฟเคสติด
ให้ตรวจสอบที่ปุ่มการปรับสีและแสงที่หน้าจอก่อน จากนั้นจึงเช็คในส่วนของขั้วสายไฟ และขั้วสายสัญญาณระหว่างเคสและจอภาพ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะเสียบการ์ดจอไม่แน่นหากตรวจเช็คอาการเหล่านี้แล้ว ทุกอย่างเป็นปกติดีสาเหตุน่าจะเกิดจากการ์ดแสดงผล และจอภาพ ให้นำอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวไปลองกับอีก เครื่องหนึ่งที่ทำงานเป็นปกติ หากการ์ดแสดงผลเสียต้องส่งเคลมหรือให้ลูกค้าเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเป็นจอภาพ ให้ตรวจเช็คอาการอีกครั้ง ถ้าซ่อมได้ก็ควรซ่อม

อาการ บูตเครื่องแล้วมีไฟที่หน้าเคสและไฟฟล็อบปี้ไดรฟ์ แต่จอมืดและทุกอย่างเงียบสนิท
ให้ตรวจสอบที่การเชื่อมต่อระหว่างขั้วต่อสายไฟของเพาเวอร์ซัพพลายกับเมนบอร์ดถูกต้องหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่าตรวจสอบสายแพที่เชื่อมต่อกับขั้วต่อ IDE ของฮาร์ดดิสก์, ฟล็อบปี้ดิสก์ และซีดีรอม ถูกต้องหรือไม่ หลุดหลวมหรือไม่
ตรวจสอบการติดตั้งซีพียูว่าใส่ด้านถูกหรือไม่ ซีพียูเสียหรือไม่
ตรวจสอบจัมเปอร์หรือดิปสวิทช์ และการเข้าไปเปลี่ยนแปลงค่าในไบออสว่ามีการกำหนดค่าที่ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะค่าแรงดันไฟ Vcore

อาการ ที่จอภาพแสดงข้อความผิดพลาดว่า HDD FAILURE
ตรวจสอบการตั้งค่าในไบออสว่าถูกต้องหรือไม่
ตรวจสอบขั้วต่อ IDE ว่ามีการเสียบผิดด้านหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่า
ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ว่าเสียหรือไม่ โดยเข้าไปในเมนูไบออส และใช้หัวข้อ IDE HDD Auto Detection ตรวจหาฮาร์ดดิสก์ ถ้าไม่เจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีปัญหาแต่หากเจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์ปกติดี

อาการ เมื่อบูตเครื่องขึ้นมาแล้วมีสัญญาณเตือนดัง บี๊บ
ควรตรวจสอบแรมว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ ติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่
ตรวจสอบการติดตั้งการ์ดต่างๆ บนเมนบอร์ดว่าติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ ตรวจสอบซีพียูและการเซ็ตจัมเปอร์ว่าถูกต้องหรือไม่วิธีแก้ไขเซ็ตจัมเปอร์ใหม่โดยตรวจเช็คจากคู่มือเมนบอร์ด

อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง)
jadsadar2@hotmail.com  มือถือ 080-7158480

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สื่อการเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา ด้านคอมพิวเตอร์

สื่อการเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา ด้านคอมพิวเตอร์
อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ ครูเต้ง เบอร์โทรติดต่อ 080- 7158480
จอแบบ CRT
การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron
จอแบบ LCD
การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน
แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง

RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที ฮาร์ดดิสก์
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์
การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น

การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
รับงานนอกเวลา นอกสถานที่ เกี่ยว มัลติมีเดีย ถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ
ติตตั้งโปรแกม ประกอบคอมพิวเตอร์ ฯลฯ





อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง)
โทร.080-7158480
jadsada2@hotmail.com




                                                     Next