Adobe Dreamweaver CS3
ประวัติความเป็นมาของโปรแกรม Dreamweaver
Adobe
Macromedia Dreamweaver
ผู้พัฒนา
อะโดบีซิสเต็มส์ (เริ่มพัฒนาโดย แมโครมีเดีย)
รุ่นเสถียร ล่าสุด CS3 (9.0)
รุ่นทดลอง ล่าสุด ( 27 มีนาคม พ.ศ. 2550)
โอเอส Windows Mac OS X
ชนิด โปรแกรมแก้ไข HTMLลิขสิทธิ์ Closed source
การใช้งานภาษาไทยใน Adobe Dreamweaver CS3 การใช้งานภาษาไทยในเวอร์ชั่นนี้
สามารถใช้งานภาษาไทยได้เลย เมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จ โดยไม่ต้องตั้งค่าใด ๆ
ให้กับโปรแกรมเหมือนกับในเวอร์ชั่นก่อน ๆ
เครื่องมือใหม่ ๆ ของ Adobe
Dreamweaver CS3 สำหรับเครื่องมือใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในเวอร์ชั่นนี้ที่เห็นได้ชัดคือ
แถบเครื่องมือ Spry ซึ่งจะช่วยให้การสร้างฟอร์มสะดวกขึ้น
แถบเครื่องมือ Spry มีหน้าที่ในการตรวจสอบค่าของข้อมูล
การทำงานกับภาษาต่างๆ
ดรีมวีฟเวอร์
สามารถทำงานกับภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนเว็บไซต์แบบไดนามิค ซึ่งมีการใช้ HTML เป็นตัวแสดงผลของเอกสาร เช่น ASP,
ASP.NET, PHP, JSP และ ColdFusion รวมถึงการจัดการฐานข้อมูลต่างๆ
อีกด้วย และในเวอร์ชันล่าสุด (เวอร์ชัน CS4) ยังสามารถทำงานร่วมกับ
XML และ CSS ได้อย่างง่ายดาย
ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Dreamweaver
Adobe Dreamweaver CS3
อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ ( ครูเต้ง)
วิชาคอมพิวเตอร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
มือถือ 080-7158480
โปรแกรม Adobe Dreamweaver CS3
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
1. อธิบายบทบาทและผลกระทบของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่มีต่อชีวิตประจำวันได้
2. สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ได้
3. เข้าใจความหมายของเว็บเพจ เว็บไซต์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
4. สามารถสังเคราะห์โครงสร้างเว็บไซต์ รวมถึงออกแบบได้
5. เข้าใจหลักการ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกแบบและจัดทำเว็บไซต์
6. มีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างงาน
7. เข้าใจโครงสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ระดับต่ำสำหรับการเขียนเว็บ
8. บอกวิธีการเขียนเว็บเพจด้วยโปรแกรม Dreamweaver ได้
9. วางแผนเลือกใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสมกับงาน
10. ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน การผลิต การออกแบบ การแก้ปัญหา การสร้างงาน
การสร้างอาชีพ
11. สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอรสร้างงานเว็บเพจและเว็บไซต์ได้
12. ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างงานจากจินตนาการหรืองานที่ทำในชีวิตประจำวันอย่างมีจิตสำนึก
13. เข้าใจกระบวนการอัพโหลดเว็บ และสามารถใช้โปรแกรมนำเสนอเว็บไซต์ได้
ทำความรู้จักกับ Dreamweaver 8
เวอร์ชั่นเก่า ๆ ยังมีมนต์ขัง ระดับประถม และ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
VIDEO
VIDEO
อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ ( ครูเต้ง)
วิชาคอมพิวเตอร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
มือถือ 080-7158480
โปรแกรม Adobe Dreamweaver CS3
การเปิดใช้งานโปรแกรม
หลังจากติดตั้งโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถเรียกใช้งานโปรแกรม ดังนี้ เรียกผ่านปุ่ม Start มีวิธีทำคือ คลิกที่ปุ่ม Start >> All Programs >> Adobe Dreamweaver CS3
การเริ่มกำหนดโครงสร้างของเว็บ
ก่อนดำเนินการสร้างเว็บเพจ ขั้นแรกควรกำหนดให้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ใน Folder เดียวกัน เพื่อง่ายต่อค้นหาและจัดเก็บ ตัวอย่างเช่นทำเว็บเพจของหน่วยงานก่อนอื่นเราควรสร้าง Folder ชื่อของหน่วยงานก่อนอาจเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก็ได้ แล้วใน Folder หน่วยงานค่อยสร้าง Folder ย่อยอีกที อาจประกอบด้วยหลาย Folder ย่อย เพื่อใช้สำหรับแยกเก็บไฟล์ต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่ เช่น ไฟล์รูปภาพ ไฟล์ HTML และ ไฟล์ Multimedia ต่างๆ
การกำหนดโครงสร้างของเว็บที่ดี จะช่วยทำให้สามารถจัดการกับระบบต่างๆ ในเว็บได้ง่าย สามารถเรียกไฟล์เพื่อนำมาแก้ไขได้ในภายหลัง และยังทำให้ก่อความเป็นหมวดหมู่ภายในเนื้อหาเว็บไซต์ของเราอีกด้วย
Open a Recent Item เป็นส่วนที่ใช้แสดงชื่อไฟล์ของงานเก่าที่เคยเปิด เราสามารถคลิกชื่อ ไฟล์เพื่อทำการเปิดได้จากส่วนนี้
Create New เป็นการสร้างหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ โดยจะมีไฟล์สคริปต์ให้เลือก
ใช้งาน ซึ่งตามปกติแล้วเราจะใช้ภาษา HTML ในการออกแบบเว็บไซต์ เมื่อต้องการเริ่มต้น
สร้างเว็บเพจให้คลิกคำสั่ง HTML
Create from Samples เป็นรูปแบบเว็บเพจสำเร็จรูปให้เลือกใช้งาน
แถบคำสั่ง (Menu Bar) เป็นแถบที่ใช้เก็บคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม • แถบคำเครื่องมือ (Toolbar) รวบรวมปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อย• แถบวัตถุ (Object Palette) เป็นกลุ่มเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมวัตถุ บนชิ้นงาน เอกสารเว็บ เช่น เส้นกราฟิก (Horizontal Rule), ตาราง, รูปภาพ, เลเยอร์ (Layer)• แถบแสดงสถานะ (Status Bar) คอยแสดงสถานะการทำงานต่างๆ ของเรา • แถบควบคุมการทำงาน (Properties Palette) เป็นรายการที่ปรับเปลี่ยนได้ ตามลักษณะการเลือกข้อมูล เช่น หากมีการเลือกที่จะพิมพ์ หรือแก้ไขเนื้อหา รายการก็จะเป็น ส่วนทำงานที่เกี่ยวกับอักษร, การจัดพารากราฟ ถ้าเลือกที่รูปภาพ รายการในแถบนี้ ก็จะเป็นคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การควบคุมเรื่องรูปภาพ• ส่วนของ Panel Group เป็นกลุ่มของแถบเครื่องมือที่สามารถเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ง่ายในการสร้าง Application บนอินเทอร์เน็ต เช่น การแทรก Code ของ JavaScript และ VBScript ลงในเว็บเพจได้อย่างง่ายๆ โดยสามารถเรียกใช้งานได้จาก Panel Group
Adobe Dreamweaver CS
อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ ( ครูเต้ง)
วิชาคอมพิวเตอร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 5
เทคนิคสร้างเว็บเพจเร็วทันใจ ม.5 ครั้งที่ 1
ภาคปฎิบัติในการเรียนวิชาคอมพิว เตอร์ ด้วย Adobe Photoshop และ Adobe Dreamweaver
อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ ( ครูเต้ง )
VIDEO
มัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 5
เทคนิดเขียนเว็บใส่โค้ด ม.5 ครั้งที่ 2.
ภาคปฎิบัติในการเรียนวิชาคอมพิว เตอร์ Adobe Dreamweaver cs
อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ ( ครูเต้ง )
VIDEO
อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ ( ครูเต้ง)
วิชาคอมพิวเตอร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
มือถือ 080-7158480