วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มัลติมีเดียและเว็บไซด์
อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ
มือถือ 080-7158480
 jadsadar2@hotmail.com
คลิกสื่อการเรียนการสอนปัจจุบัน

























































อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง) รับงานมัลติมีเดีย
jadsadar2@hotmail.com มือถือ 080-7158480





                                                                       Next

                                                                           

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา /เว็บไซด์ / มัลติมีเดีย / กราฟิก




มัลติมีเดียคืออะไร?
มัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพ เสียง
และวีดิทัศน์

มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง (Sound) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวีดิทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิ-สัมพันธ์ (Interactive Multimedia)



มัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสัน ภาพ กราฟฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้โดยใช้คีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น


ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของมัลติมีเดียได้ว่า มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) การใช้มัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเอง สื่อต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลาย ชาน่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น


                                                                     
       

เว็บไซต์
เว็บไซต์ (Web Site) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น


สรุป เว็บไซต์ คือ ชื่อเรียกหรือที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ
เว็บเพจ คือ หน้าแต่ละหน้าที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน
โฮมเพจ คือ หน้าแรกที่เข้าสู่เว็บไซต์นั้น ๆ

ส่วนประกอบของเว็บเพจที่สำคัญ มีดังนี้
1. ข้อความ (Text) ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข ซึ่งอาจเป็นภาษาอังกฤษ ไทย หรือภาษา อื่น ๆ ก็ได้
2. กราฟิก (Graphics) ได้แก่ ภาพวาดและรูปภาพต่าง ๆ
3. มัลติมีเดีย (Multimedia) ได้แก่ ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดิทัศน์ เสียง
4. ลิงก์ (Link) ข้อความหรือรูปภาพที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยัง เว็บเพจอื่น ๆ ได้ เราสามารถตรวจสอบได้ว่าส่วนใดเป็นลิงก์โดยนำเมาส์ไปนี้สัญลักษณ์เมาส์จะเปลี่ยนเป็นมือ ? แสดงว่าส่วนนั้นเป็นลิงก์

อินเทอร์เน็ตคืออะไร
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์
จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol)
เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์
ที่อยู่ในเครือข่ายแต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน
เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว

ประวัติและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือกำเนิดในยุคของสงครามเย็นระหว่างประเทศมหาอำนาจ(สหรัฐอเมริกา)
กับรัสเซียเนื่องจากกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เกิดแนวคิดที่ต้องการ
ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยคอมพิวเตอร์สามารถสั่งการและทำงานได้
ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้คอยควบคุมดูแล หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูหรือขีปนาวุธ
นิวเคลียร เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์ที่เมืองใดเมืองหนึ่ง อาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วน
ถูกทำลายไปแต่ส่วนที่เหลือจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป้าหมายนี้เองจึงได้เกิดโครงการวิจัย
และพัฒนาระบบ เครือข่ายดังกล่าวขึ้น เรียกว่า ARPA(Advanced Research Projects Agency)
และได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดได้กลายมาเป็นเครือข่ายที่มีชื่อว่า “อินเทอร์เน็ต” (Internet)
ในปัจจุบัน


อินเทอร์เน็ตคืออะไร
การใช้อินเทอร์เน็ตนั้น จะมีประโยชน์หรือโทษ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งานเอง เนื่องจากอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ศึกษาได้ทุก ๆ เรื่อง ขึ้นอยู่กับผู้จะขอใช้บริการอะไร ซึ่งมีลักษณะการใช้งานต่าง ๆ ดังนี้

1. การค้นหาข้อมูล
เราสามารถค้นหาข้อมูลและสิ่งที่ต้องการอยากรู้ได้ โดยการค้นหาจากเว็บไซด์ต่าง ๆ
บนอินเทอร์เน็ต World Wide Web หรือ WWW. เป็นบริหารข้อมูลแบบต่าง ๆ ซึ่งมีการ เชื่อมโยงถึงกันได้ ตัวอย่างเช่น การค้นหาข้อมูลด้วย Google จาก www.google.co.th

2. เพื่อการศึกษา
การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา ปัจจุบันมีเว็บที่บริการเรียนออนไลน์มากมาย
หลากหลายวิชา มีทั้งแบบข้อความเพื่ออ่าน ภาพประกอบ เสียงบรรยาย หรือวีดีโอสอนก็มี
3. เพื่อความบันเทิงและข่าวสาร
นอกจากที่กล่าวมาเรายังสามารถดูหนัง ฟังเพลง หรืออ่านหนังสือพิมพ์ นิตยาสาร เพื่อให้มีความรู้เพิ่มเติมได้ ดังตัวอย่างนี้
4. เพื่อการสนทนาหรือจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ เราสามารถติดต่อกันได้โดยการสนทนา
ผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น การสนทนาด้วยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบ หรือการสนทนาผ่านระบบเสียง
การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์และ อื่น ๆ ดังตัวอย่างนี้
5. เพื่องานธุรกิจ
นอกจากที่ได้กล่าวมา เรายังสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเพื่องานธุรกิจได้ เช่น ซื้อขายสินค้า
ออนไลน์ การทำงานเกี่ยวกับการเงิน เช่น โอนเงินระหว่างธนาคารและอื่น ๆ อีกมากมาย

ผู้ให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มารู้จักกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กันก่อน
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่ต่างไปจากจดหมายทั่ว ๆ ไป คือ จะต้องมีผู้ให้บริการ ซึ่งเปรียบเทียบแล้วก็ที่ทำการไปรษณีย์นี่เอง เป็นผู้จัดการส่งหรือรับจดหมายให้เรา ผู้ใช้งานจะต้องมีที่อยู่ของตนเองกับผู้ให้บริการนั้น ๆ ซึ่งสามารถขอได้ บางที่อาจจะมีค่าบริการ แต่สำหรับของไทยมีฟรีหลายที่ การขอที่อยู่ส่วนใหญ่มักเรียกกันว่า อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อีเมล์ (E-mail) เพื่อใช้ในการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิก


เว็บไซต์ที่ให้บริการ
1. www.hotmail.com
เป็นเว็บไซต์ของต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันพัฒนาสามารถใช้งานภาษาไทยได้
2. www.yahoo.com
เป็นเว็บไซต์ของต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันพัฒนาสามารถใช้งานภาษาไทยได้

3.www.chaiyo.com
เป็นผู้ให้บริการในประเทศไทยสำหรับคนไทย ออกแบบหน้าจอเป็นภาษาไทย สามารถใช้งานได้ง่าย
4. www.thaimail.com
เป็นผู้ให้บริการในประเทศไทยสำหรับคนไทย ออกแบบหน้าจอเป็นภาษาไทย สามารถใช้งานได้ง่าย


การติดตั้งซีพียูในปัจจุบันสะดวกกว่าแต่ก่อนมากนักเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแบบซ๊อกเก๊ตที่มีขาทั้งตัว เวลาติดตั้งกับช็อกเก็ตบนเมนบอร์ด ให้หันมุมที่มีรอยหักให้ตรงกับด้านที่มีรอยหักบนเมนบอร์ด ก็จะเสียบลงไปได้พอดี หากใส่ไมเข้าอย่าฝืนดันเข้าไปให้ถอดออกมาตรวจสอบและตรวจดูมุมหักให้ถูกต้อง ก่อนใส่กลับเข้าไปใหม่ หลังจากนั้นให้ติดตั้งพัดลมระบายความความร้อนให้กับซีพียูด้วย ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. ง้างกระเดื่องล็อคซีพียูออกทางด้านข้างจนสุด และดันขึ้นเพื่อเตรียมใส่ซีพียู
2. เสียบใส่ซีพียูเข้ากับซ็อกเก็ตโดยดันเข้าไปตรงๆ ให้ด้านที่มีรอยหักของซีพียูตรงกับรอยหักซ้อกเก็ต
3. ดันแขนกระเดื่องกลับลงมาล็อคกับช็อกเก็ตเหมือนเดิม
4. ใช้ไขควงเกี่ยวแขนล็อคพัดลมยึดกับหูล็อคบนช็อกเก็ตบนเมนบอร์ด
5. เสียบสายพัดลมเข้ากับขั้วจ่าายไฟเลี้ยงเมนบอร์ดที่ตำแหน่ง "CPU FAN"

ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก
กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซื่งใช้การสื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้รับสารต้องการ
คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช ้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ เช่น การทำตกแต่งภาพที่เรียกว่า Image Retouching ภาพคนแก่
ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ

การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ มีวิธีการสร้าง 2 แบบ คือ แบบบิตแมพ (Bit Mapped) และแบบเวกเตอร์ (Vector) หรือสโตรก (Stroked) แต่ละแบบวิธีการรสร้างภาพดังต่อไปนี้


1. กราฟิกแบบบิตแมป
กราฟิกแบบบิตแมปความหมายที่ค่อนข้างจะตรงไปตรงมา คือ มีลักษณะเป็นช่องๆ เหมือนตาราง แต่ละบิตก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ซึ่งก็คือสวิตซ์ปิดเปิดในหน่วยความจำ "1" หมายถึงเปิด และ "0" หมายถึงปิด) และสวิตซ์ปิดเปิดนี้ก็ยังหมายถึงสีดำและสีขาวอีกด้วย ดังนั้น ถ้าเราเอาบิตที่แตกต่างกันในแต่ละตารางมารวมกันเข้า เราจะสามารถสร้างภาพจากจุดดำและขาวเหล่านี้ได้ กราฟิกแบบบิตแมปทุกชนิดมีลักษณะที่เหมือนกันอยู่บางประการ ถ้าทำความเข้าใจส่วนต่างๆ เหล่านี้ เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้

พิกเซล (Pixel)

พิกเซล (เป็นคำที่ใช้แทนองค์ประกอบของภาพ) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของภาพบิตแมป ซึ่งองค์ประกอบย่อยๆ เหล่านี้ถูกรวมกันเข้าทำให้เกิดภาพ เราคงคุ้นเคยกับการที่ส่วนประกอบย่อยๆ มารวมกันเพื่อประกอบเป็นรายการสิ่งของต่างๆ เป็นต้นว่า เอาแต่ละชิ้นของบล็อกกระจกมาประกอบกันเป็นหน้าต่าง แต่ละเข็มของการเย็บปักถักร้อยประกอบกันกลายเป็นผลงานทางด้านเย็บปักถักร้อย 1 ชิ้น หรือแต่ละจุดของโลหะเงินประกอบกันเป็นรูปภาพ 1 รูป นั้นคือองค์ประกอบอาจจะเป็นแก้วชิ้นใหญ่บนหน้าต่าง หรือจุดโลหะเงินเล็กๆ บนแผ่นฟิล์มก็ได้ โดยแต่ละชิ้นเป็นองค์ประกอบที่แยกจากกัน เปรียบเทียบได้กับพิกเซลซึ่งถือเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของรูปภาพ พิกเซลมีความสำคัญต่อการสร้างกราฟิกของคอมพิวเตอร์มาก เพราะทุกๆ ส่วนของกราฟิก เช่น จุด เส้น แบบลายและสีของภาพ ล้วนเริ่มจากพิกเซลทั้งสิ้น พิกเซลหนึ่งๆ อาจจะมีขนาดความเข้มและสีแตกต่างกันได้
ในโลกแห่งดิจิตอลของรูปภาพคอมพิวเตอร์ พิกเซล ได้ถูกใช้สำหรับสิ่งต่างๆ เป็นต้นว่าจุดแต่ละจุดบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ จุดแสดงความละเอียดของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ หรืออุปกรณ์แสดงผลประเภทกราฟิกอื่นๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เราสับสนได้เพื่อให้เกิดความชัดเจน ขอให้คำจำกัดความดังต่อไปนี้ พิกเซล หมายถึง องค์ประกอบย่อยในไฟล์กราฟิกแบบบิตแมป วิดีโอพิกเซล หมายถึง องค์ประกอบย่อยของภาพในหน้าจอคอมพิวเตอร์ จุดหรือดอต หมายถึง ความละเอียดของภาพที่พิมพ์โดยเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์

เอสเป็กเรโซของภาพ (Image Aspect Ratio)

แอสเป็กเรโชของภาพ คือ อัตราส่วนระหว่างจำนวนพิกเซลทางแนวขวาง และจำนวนพิกเซลทางแนวดิ่งที่ใช้ในการสร้างภาพ หากจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับกระดาษกราฟ จะเห็นได้ว่าภาพบิตแมปใดๆ ก็ตามจะมีจำนวนพิกเซลคงที่ในมิติแนวขวางและแนวดิ่ง ซึ่งอัตราส่วนมีไว้อ้างถึงขนาดของภาพและมักจะเขียนในรูปของ 800 x 600 (ซี่งหมายถึงรูปภาพที่มี 800 พิกเซลในแนวขวาง และ 600 บรรทัดของพิกเซลในแนวดิ่ง) เราสามารถคำนวณหาจำนวนพิกเซลทั้งหมดในรูปภาพได้โดยการคูณตัวเลขทั้งสองนี้เข้าด้วยกัน นั่นคือรูปภาพที่มีแอสเป็กเรโช 800 x 600 จะมีทั้งหมด 480,000 พิกเซล ซึ่งจำนวนดังกล่าวไม่ได้หมายถึงขนาดของไฟล์ของภาพนั้นๆ

รีโซลูชัน (Resolution)

รีโซลูชัน (Resolution) หมายถึง รายละเอียดที่อุปกรณ์แสดงกราฟิกชนิดหนึ่งมีอยู่ ค่ารีโซลูชันมักระบุเป็นจำนวนพิกเซลในแนวนอนคือแนวแกน X และจำนวนพิกเซลในแนวตั้งคือแนวแกน Y ดังนั้นรีโซลูชัน 720 x 348 จึงหมายความว่า อุปกรณ์แสดงกราฟิกชนิดนี้สามารถแสดงพิเซลในแนวนอนได้ไม่เกิน 720 พิกเซล และแสดงพิกเซลในแนวตั้งได้ไม่เกิน 348 พิกเซล ผู้ผลิตอุปกรณ์แสดงกราฟิกบางรายจะระบุค่ารีโซลูชันเป็นระดับสูง (High Resolution) ปานกลาง (Medium Resolution) และระดับต่ำ (Low Resolution) โดยพิจารณาจากจำนวนพิกเซลในแนวนอนเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีหลักว่า ถ้าค่าน้อยกว่า 128 เป็นระดับต่ำ ค่าระหว่าง 128 ถึง 512 เป็นระดับกลาง ค่าสูงกว่า 512 เป็นระดับสูง สำหรับจอภาพขนาดปกติ ถ้ามีค่ารีโซลูชันมากกว่า 1500 ตาจะมองไม่เห็นแต่ละพิกเซลคือจะมองเห็นเป็นภาพที่มีความละเอียดคมชัดสูงมาก คอมพิวเตอร์กราฟิกที่ใช้กับฟิล์มถ่ายรูปในระดับมืออาชีพจะต้องใช้ค่ารีโซลูชันสูงถึง 3000


2. กราฟิกแบบเวกเตอร์
กราฟิกแบบเวกเตอร์ต่างจากบิตแมปตรงที่บิตแมปนั้นประกอบไปด้วย จุดต่างๆ มากมาย แต่กราฟิกแบบเวกเตอร์ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ เช่น วงกลม หรือเส้นตรง เป็นต้น ถึงแม้ว่าอาจจะฟังดูซับซ้อนสักเล็กน้อยแต่ภาพบางชนิดก็ถูกสร้างได้ง่าย หลักที่จะนำไปสู่กราฟิกแบบเวกเตอร์ก็คือ การรวมเอาคำสั่งทางคอมพิวเตอร์และสูตรทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับออบเจ็กต์ ซึ่งจะปล่อยให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์เป็นตัวกำหนดเองว่าจะวางจุดจริงๆ ไว้ที่ตำแหน่งใดในการสร้างภาพ คุณลักษณะเด่นเหล่านี้ทำให้กราฟิกแบบเวกเตอร์มีข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบมากมายกับกราฟิกแบบบิตแมป

ออบเจ็กต์ (Object)

ออบเจ็กต์ง่ายๆ (เช่น วงกลม เส้นตรง ทรงกลม ลูกบาศก์ และอื่นๆ เรียกว่ารูปทรงพื้นฐาน) สามารถใช้ในการสร้างออบเจ็กต์ที่ซับซ้อนขึ้น กราฟิกแบบเวกเตอร์สามารถสร้างรูปภาพโดยการรวมเอาออบเจ็กต์หลายๆ ชนิดมาผสมกันเราสามารถผสมออบเจ็กต์ต่างชนิดกัน (เช่น วงกลมและเส้นตรง) เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกัน กราฟิกแบบเวกเตอร์ใช้คำสั่งง่ายๆ เพื่อสร้างออบเจ็กต์พื้นฐาน ถ้าเขียนเป็นภาษาคำพูดแบบธรรมดา คำสั่งอาจจะอ่านได้ว่า "ลากเส้นตรงจากจุด A ไปยังจุด B" หรือ "ลากวงกลมรัศมี R โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุด P"


เปรียบเทียบคุณสมบัติของกราฟิกแบบบิตแมปและภาพแบบเวกเตอร์ ในด้านความเร็วของการแสดงภาพที่จอภาพและความสามารถในการเปลี่ยนขนาดภาพจะได้ผลดังนี้


1. กราฟิกแบบบิตแมปสามารถแสดงให้เห็นที่จอภาพได้เร็วกว่าภาพแบบเวกเตอร์ เช่น การแสดงภาพแบบบิตแมปขนาด 1000 ไบต์ จะทำโดยการใช้คำสั่งย้ายข้อมูลขนาด 1000 ไบต์ จากหน่วยความจำที่เก็บภาพไปยังหน่วยความจำของจอภาพ (คือ Video Display Buffer) ภาพนั้นก็จะปรากฎบนจอภาพทันที การแสดงภาพแบบเวกเตอร์คอมพิวเตอร์จะใช้เวลามากกว่า เนื่องจากคอมพิวเตอร์ต้องทำตามคำสั่งที่มีจำนวนมากกว่า


2. การเปลี่ยนแปลงขนาดภาพให้โตขึ้นหรือเล็กลงกว่าภาพเดิม กรณีภาพแบบบิตแมปจะทำได้ไม่มาก นอกจากนั้นยังอาจจะทำให้ลักษณะของภาพผิดเพี้ยนไปจากเดิมด้วย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงขนาดภาพทำโดยวิธีการเพิ่มหรือลดพิกเซลจากที่มีอยู่เดิม ภาพที่ขยายโตขึ้นจะมองเห็นเป็นตารางสี่เหลี่ยมเรียงต่อกัน ทำให้ขาดความสวยงาม แต่ภาพแบบเวกเตอร์จะสามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังคล้ายเดิม ยิ่งกว่านั้นเราสามารถขยายเฉพาะความกว้างหรือความสูง เพื่อให้มองเห็นเป็นภาพผอมหรืออ้วน
1. คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการออกแบบ
คอมพิวเตอร์กราฟิกได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบมาเป็นเวลานาน เราคงจะเคยได้ยินคำว่า CAD (Computer - Aided Design) ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับช่วยในการออกแบบทางวิศวกรรม โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ออกแบบหรือวิศวกรออกแบบงานต่างๆ ได้สะดวกขึ้น กล่าวคือ ผู้ออกแบบสามารถเขียนเป็นแบบลายเส้นแล้วลงสี แสงเงา เพื่อให้ดูคล้ายกับของจริงได้ นอกจากนี้แล้วเมื่อผู้ออกแบบกำหนดขนาดของวัตถุลงในระบบ CAD แล้ว ผู้ออกแบบยังสามารถย่อหรือขยายภาพนั้น หรือต้องการหมุนภาพไปในมุมต่างๆ ได้ด้วย การแก้ไขแบบก็ทำได้ง่ายและสะดวกกว่าการออกแบบบนกระดาษ
ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการออกแบบวงจรต่างๆ ผู้ออกแบบสามารถวาดวงจรบนจอภาพโดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้แล้วมาประกอบกันเป็นวงจรที่ต้องการ ผู้ออกแบบสามารถแก้ไข ตัดต่อ เพิ่มเติมวงจรได้โดยสะดวก นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำหรับออกแบบ PCB (Printed Circuit Board) ซึ่งมีความสามารถจัดการให้แผ่นปรินต์มีขนาดที่จะวางอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เหมาะสมที่สุด
การออกแบบพาหนะต่างๆ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน หรือเครื่องจักรต่างๆ ในปัจจุบันก็ใช้ระบบ CAD นักออกแบบสามารถจะออกแบบส่วนย่อยๆ แต่ละส่วนก่อน แล้วนำมาประกอบกันเป็นส่วนใหญ่ขึ้นจนเป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้ในบางระบบยังสามารถที่จะทดสอบแบบจำลองที่ออกแบบไว้ได้ด้วย เช่น อาจจะออกแบบรถยนต์แล้วนำโครงสร้างของรถที่ออกแบบนั้นมาจำลองการวิ่ง โดยให้วิ่งที่ความเร็วต่างๆ กันแล้วตรวจดูผลที่ได้ ซึ่งการทดลองแบบนี้สามารถทำได้ในระบบคอมพิวเตอร์และจะประหยัดกว่าการสร้างรถจริงๆ แล้วนำออกมาศึกษาทดสอบการวิ่ง
การออกแบบโครงสร้าง เช่น ตึก บ้าน สะพาน หรือโครงสร้างใดๆ ทางวิศวกรรมโยธาและสถาปัตยกรรม ก็สามารถทำได้โดยใช้ CAD ช่วยในการออกแบบ หลังจากสถาปนิกออกแบบโครงสร้างในแบบ 2 มิติเสร็จแล้ว ระบบ CAD สามารถจัดการให้เป็นภาพ 3 มิติ และยังสามารถแสดงภาพที่มุมมองต่างๆ กันได้ตามที่ผู้ออกแบบต้องการ นอกจากนี้ในบางระบบสามารถแสดงภาพให้ปรากฏต่อผู้ออกแบบราวกับว่าผู้ออกแบบสามารถเดินเข้าไปภายในอาคารที่ออกแบบได้ด้วย


2. กราฟและแผนภาพ
คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการแสดงภาพกราฟและแผนภาพของข้อมูลได้เป็นอย่างดี โปรแกรมทางกราฟิกทั่วไปในท้องตลาดจะเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพกราฟและแผนภาพ โปรแกรมเหล่านี้ยังสามารถสร้างกราฟได้หลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง และกราฟวงกลม นอกจากนี้ยังสามารถแสดงภาพกราฟได้ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ทำให้ภาพกราฟที่ได้ดูดีและน่าสนใจ กราฟและแผนภาพทางธุรกิจ เช่น กราฟหรือแผนภาพแสดงการเงิน สถิติ และข้อมูลทางเศรษฐกิจ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารหรือผู้จัดการกิจการมาก เนื่องจากสามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม ในงานวิจัยต่างๆ เช่น การศึกษาทางฟิสิกส์ กราฟและแผนภาพมีส่วนช่วยให้นักวิจัยทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายขึ้นเมื่อข้อมูลที่ต้องวิเคราะห์มีจำนวนมาก
ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Geographical Information System) ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสดงข้อมูลในทำนองเดียวกับกราฟและแผนภาพ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกเก็บลงในระบบคอมพิวเตอร์ แล้วให้ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกจัดการแสดงข้อมูลเหล่านั้นออกมาทางจอภาพในรูปของแผนที่ทางภูมิศาสตร์


3. ภาพศิลป์โดยคอมพิวเตอร์กราฟิก
การวาดภาพในปัจจุบันนี้ใครๆ ก็สามารถวาดได้แล้วโดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี แต่จะใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแทน ภาพที่วาดในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกนี้เราสามารถกำหนดสี แสงเงา รูปแบบลายเส้นที่ต้องการได้โดยง่าย ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์หลายชิ้นก็เป็นงานจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพก็คือ เราสามารถแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ต้องการได้ง่าย นอกจากนี้เรายังสามารถนำภาพต่างๆ เก็บในระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) แล้วนำภาพเหล่านั้นมาแก้ไข


4. ภาพเคลื่อนไหวโดยใช้คอมพิวเตอร์
ภาพยนตร์การ์ตูนและภาพยนต์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์หรือภาพยนตร์ที่ใช้เทคนิคพิเศษต่างๆ ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหว (Computer Animation) มากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายกว่าวิธีอื่นๆ นอกจากนี้ภาพที่ได้ยังดูสมจริงมากขึ้น เช่น ภาพยานอวกาศที่ปรากฏในภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ เป็นต้น การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยให้ภาพที่อยู่ในจินตนาการของมนุษย์สามารถนำออกมาทำให้ปรากฏเป็นจริงได้ ภาพเคลื่อนไหวมีประโยชน์มากทั้งในระบบการศึกษา การอบรม การวิจัย และการจำลองการทำงาน เช่น จำลองการขับรถ การขับเครื่องบิน เป็นต้น เกมส์คอมพิวเตอร์หรือวิดีโอเกมส์ก็ใช้หลักการทำภาพเคลื่อนไหนในคอมพิวเตอร์กราฟิกเช่นกัน


5. อิเมจโปรเซสซิงก์
คำว่าอิเมจโปรเซสซิงก์ (Image Processing) หมายถึง การแสดงภาพที่เกิดจากการถ่ายรูปหรือจากการสแกนภาพให้ปรากฏบนจอภาพคอมพิวเตอร์ วิธีการทางอิเมจโปรเซสซิงก์จะต่างกับวิธีการของคอมพิวเตอร์กราฟิก กล่าวคือ ในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ตัวคอมพิวเตอร์เองจะเป็นตัวที่สร้างภาพ แต่เทคนิกทางอิเมจโปรเซสซิงก์นั้นใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการจัดรูปแบบของสีและแสงเงาที่มีอยู่แล้วในภาพให้เป็นข้อมูลทางดิจิตอล แล้วอาจจะมีวิธีการทำให้ภาพที่รับเข้ามานั้นมีความชัดเจนมากขึ้นก่อน จากนั้นก็จัดการกับข้อมูลดิจิตอลนี้ให้เป็นภาพส่งออกไปที่จอภาพของคอมพิวเตอร์อีกที วิธีการนี้มีประโยชน์ในการแสดงภาพของวัตถุที่เราไม่สามารถจะเห็นได้โดยตรง เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพจากทีวีสแกนของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เป็นต้น
เมื่อภาพถ่ายถูกทำให้เป็นข้อมูลดิจิตอลแล้ว เราก็สามารถจะจัดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงภาพนั้นได้โดยจัดการกับข้อมูลดิจิตอลของภาพนั่นเอง ซึ่งเราก็จะใช้หลักการของคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้กับข้อมูลเหล่านี้ได้ เช่น ในภาพสำหรับการโฆษณา เราสามารถทำให้ภาพที่เห็นเหมือภาพถ่ายนั้นแปลกออกไปจากเดิมได้โดยมีภาพบางอย่างเพิ่มเข้าไปหรือบางส่วนของภาพนั้นหายไป ทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าจะเป็นจริงแต่ดูเหมือนกับเกิดขึ้นจริงได้ เป็นต้น
เทคนิคของอิเมจโปเซสซิงก์สามารถประยุกต์ใช้กับการแพทย์ได้ เช่น เครื่องเอกซเรย์ โทโมกราฟี (X-ray Tomography) ซึ่งใช้สำหรับแสดงภาพตัดขวางของระบบร่างกายมนุษย์ เป็นต้น
จากที่กล่าวมาแล้ว เราจะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์กราฟิกนั้นนับวันยิ่งมีความสำคัญในสาขาวิชาต่างๆ มากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นการดีที่เราควรจะมีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทคนิคเบื้องต้นต่างๆ ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์กราฟิก

ติดต่อสอบถามและติดตามความคืบหน้าครั้งต่อไป
jadsadar2@hotmail.com
jadsadar.ditsuwan@facebook.com
อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ(ครูเต้ง)
มือถือ 080-7158480




                                                                           Next

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Microsoft PowerPoint


                                                                                        ผลการเรียนของนักเรียน
                                                                                 โปรแกรม Microsoft PowerPoint 
                                                                       อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ(ครูเต้ง)

แบบทดสอบผลการเรียน(ปิดไพล์เสียง)
                                                                   

                                                                                       
 อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง)
โปรแกรม Microsoft PowerPoint (แนวข้อสอบ)
นักเรียนส่งงานนำเสนอ Power Pointผ่านทาง E-Mail
jadsadar2@hotmail.com
รู้จักกับ PowerPoint 2007
โปรแกรม Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการจัดทำสไลด์เพื่อนำไปเสนอหรือฉายให้บุคคลทั่วไปได้ดู ในปัจจุบันโปรแกรม PowerPoint ได้เข้ามามีบทบาทกับการนำเสนอเป็นอย่างมากไม่ว่าจะใช้นำเสนองาน การประชุม สัมมนา ตลอดจนถึงแวดวงการศึกษาก็นำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น อาจารย์ใช้เป็นสื่อช่วยสอน ส่วนนักศึกษาก็ใช้สำหรับนำเสนองานกับอาจารย์
จุดเด่นของโปรแกรมก็คือ สามารถสร้างงานที่จะนำเสนอได้อย่างง่ายดาย สามารถใส่ภาพ เสียง ตลอดจนภาพเคลื่อนไหวในลักษณะวิดีโอลงในสไลด์ จึงเป็นสื่อที่นำเสนอข้อมูลได้แบบมัลติมีเดีย ทำให้งานนำเสนอของคุณน่าชม น่าฟัง และน่าติดตามยิ่งขึ้น
Microsoft Office PowerPoint 2007 จะมีเครื่องมือใหม่ๆ ที่ช่วยคุณสร้างงานนำเสนอ และช่วยทำให้งานนำเสนอต่างๆ มีความน่าสนใจมากขึ้น ได้เพิ่มเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาหลายอย่าง ช่วยให้คุณและทีมงานใช้ระดมความคิดและสร้างสื่อเพื่อการนำเสนอข้อมูลในเวลาอันรวดเร็วและสวยงามระดับมืออาชีพ
ความหมายของการนำเสนอ ข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือ ความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่างๆ อันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ
ความสำคัญของการนำเสนอ
ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจ ทางการเมือง ทางการศึกษา หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูล เสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่างๆ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การแนะนำเพื่อการเยี่ยมชม การฝึกอบรม การประชุม หรือผู้ที่เป็นหัวหน้างานทุกระดับจะต้องรู้จักวิธีการนำเสนอ เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานต่างๆ และเพื่อผลสำเร็จของการพัฒนางานของตน หรือขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ กล่าวโดยสรุป การนำเสนอมีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานทุกประเภท เพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ใช้ในการพัฒนางาน ตลอดจนเผยแพร่ความก้าวหน้าของงานต่อผู้บังคับบัญชา และบุคคลผู้ที่สนใจ
จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ
1. เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ เช่น ในการประชุมคณะ กรรมการต่างๆ ประธานในที่ประชุมจะต้องชี้แจงวาระการประชุมให้ที่ประชุมรับทราบ ที่มักเรียกกันว่าเรื่องที่ประธานจะแจ้งให้ทราบ
2. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ในการประชุมคณะกรรมการแต่ละครั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ จะต้องชี้แจงข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นให้ที่ประชุมรับได้ทราบ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยหรือลงมติที่ประชุม
3. เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ เช่น ในการฝึกอบรมหรือการสัมมนา วิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญจะต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อความรู้ และข้อเท็จจริงต่างๆ ให้แก่ผู้เข้าฝึกอบรม หรือใช้ ในการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมกิจการ หรือผู้บังคับบัญชาที่เดินทาง มาตรวจเยี่ยมได้รับทราบ
4. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เช่น การชี้แจงระเบียบหรือวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ โดยเฉพาะเมื่อมีการออกระเบียบใหม่หรือเปลี่ยนแนวทางในการปฏิบัติ ก็จำเป็นต้องชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและปฏิบัติได้อย่างถูก ต้อง
ประเภทของการนำเสนอ
1. การนำเสนอเฉพาะกลุ่ม เป็นการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ต่อผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมรับทราบข้อมูล ในการนำเสนอ
2. การนำเสนอทั่วไปในที่สาธารณะ เป็นการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมฟังการนำเสนอได้ มีการเปิดโอกาสให้ผู้ฟัง ได้ซักถามเพิ่มเติมหรือแสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย
ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ
ในการนำเสนอแต่ละครั้งนั้น สามารถนำข้อมูลที่มีลักษณะแตกต่างกันมาร่วม นำเสนอด้วยกันได้ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้นำเสนอ ข้อมูลที่จะนำเสนอแบ่งออกตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่
1. ข้อเท็จจริง หมายถึงข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามความจริง หรือสามารถตรวจสอบให้เป็นที่ประจักษ์ได้ว่าเป็นความจริง อาจเป็นความรู้ที่ได้จากการทดสอบหรือทดลองทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐาน ข้ออ้างอิงสำหรับกล่าวอ้างถึงในการพิสูจน์สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
2. ข้อคิดเห็น เป็นความเห็นอันเกิดจากประเด็นหรือเรื่องราวที่ชวนให้คิด อาจเป็นความรู้สึก ความเชื่อถือหรือแนวคิดที่ผู้นำเสนอมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเห็นของแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์ ของแต่ละบุคคล ข้อคิดเห็นต่างจากข้อเท็จจริง คือ ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่ข้อคิดเห็นอาจมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ฟังเป็นผู้ตัดสินใจว่าข้อคิดเห็นนั้น ๆ น่ารับฟังหรือไม่ สมเหตุสมผลเพียงใด ข้อคิดเห็นมีลักษณะต่าง ๆ กัน
2.1. ข้อคิดเห็นเชิงเหตุผล เป็นข้อคิดเห็นที่อ้างถึงเหตุผล อ้างถึงข้อเปรียบเทียบที่ เชื่อถือได้ และความมีเหตุผลต่อกัน โดยชี้ให้ผู้รับฟังเห็นว่า ควรทำอย่างนั้นเพราะเหตุเช่นนี้ แต่ถ้าไม่ทำอย่างที่กล่าวก็จะมีผลตามมาอย่างไรบ้าง โดยทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลของผู้แสดง ความคิดเห็นเท่านั้น

สิ่งสำคัญ
Microsoft Office PowerPoint 2007 ไม่สนับสนุนการบันทึกลงใน PowerPoint 95 และรูปแบบแฟ้มรุ่นก่อนหน้านี้
ถ้าคุณบันทึกงานนำเสนอ Office PowerPoint 2007 ของคุณในรูปแบบแฟ้ม PowerPoint รุ่นก่อนหน้านี้ การจัดรูปแบบและคุณลักษณะที่มีเฉพาะใน Office PowerPoint 2007 อาจไม่ปรากฏ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ให้ดูคุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลงเมื่อคุณเปิดงานนำเสนอ PowerPoint 2007 ใน PowerPoint รุ่นก่อนหน้านี้
เมื่อเปิดหรือบันทึกเอกสารในรูปแบบ OpenDocument Presentation (.odp) การจัดรูปแบบบางอย่างอาจหายไปและการทำงานของคุณลักษณะบางอย่างอาจถูกจำกัดหรือใช้งานไม่ได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างรูปแบบ Open Document Format และรูปแบบ PowerPoint 2007 ให้ดู ความแตกต่างระหว่างรูปแบบ OpenDocument Presentation (.odp) และรูปแบบ PowerPoint (.pptx)
1.ใน Office PowerPoint 2007 ให้เปิดงานนำเสนอที่คุณต้องการบันทึกเป็นรูปแบบแฟ้มอื่น
2.คลิก ปุ่ม Microsoft Office แล้วคลิก บันทึกเป็น
3.ในกล่อง ชื่อแฟ้ม ให้ใส่ชื่อใหม่สำหรับงานนำเสนอ หรือไม่ทำสิ่งใดเพื่อยอมรับชื่อแฟ้มที่แนะนำ
4.ในรายการ บันทึกเป็นชนิด ให้เลือกรูปแบบแฟ้มที่คุณต้องการ แล้วคลิก บันทึก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกรูปแบบแฟ้ม ให้ดู รูปแบบแฟ้มที่ได้รับ

เริ่มใช้งานโปรแกรม Microsoft Office PowerPoint
1. คลิกปุ่ม Start บนแถบ Task bar
2. เลือก All Programs Microsoft Office
3. เลือก Microsoft Office PowerPoint 2007 จะเปิดให้ใช้งานได้ทันที
ส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรม
ก่อนที่จะทำงานกับโปรแกรม Microsoft Office PowerPoint คุณจะต้องรู้จักกับส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรมก่อน เพื่อจะได้เข้าใจถึงส่วนต่างๆ ที่จะกล่าวอ้างถึงในหนังสือเล่มนี้ได้ง่ายขึ้น





• Office Button เป็นปุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของแฟ้มงาน เช่น New, Open, Save, Save As, Print, Close, ฯลฯ
• Quick Access Toolbar เป็นแถบเครื่องมือให้คุณเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ผู้ใช้สามารถเพิ่มปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ ไว้ในแถบเครื่องมือนี้ได้
• Title bar แถบแสดงชื่อโปรแกรมและชื่อไฟล์ปัจจุบันที่คุณเปิดใช้งานอยู่
• แถบ Ribbon เป็นแถบที่รวบรวมคำสั่งต่างๆ ของเมนูหรือทูลบาร์ เพื่อให้ผู้ใช้เลือกใช้งานง่ายขึ้น
• Status bar แถบแสดงสถานะการทำงานปัจจุบันบนหน้าจอ
• View bar แถบแสดงมุมมองเอกสารในแบบต่างๆ
การสร้างงานนำเสนอใหม่
โปรแกรม PowerPoint มีการสร้างงานใหม่ได้ 2 แบบ
• สร้างจาก Template (ต้นแบบ)
• สร้างแบบ New Blank Presentation



สารบัญ
Part 1 ติดตั้งและใช้โปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007

บทที่ 1 รู้จักโปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007

- ทำความรู้จักกับ PowerPoint 2007
- ฟีเจอร์ใหม่ของ PowerPoint 2007
- หลักการออกแบบหน้าสไลด์
- ทดลองสร้างงานพรีเซเตชันแบบง่ายๆ
บทที่ 2 ติดตั้งโปรแกรมและใช้งาน Microsoft Office PowerPoint 2007
- ความต้องการในการติดตั้งโปรแกรม
- ติดตั้ง Microsoft Office 2007 บน Windows Vista
- ติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 2007 บน Windows XP
- การเปิดโปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007
- ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม PowerPoint 2007
- แนะนำเครื่องมือในริบบอน (Ribbon)
- มุมมอง (View) สไลด์แบบต่างๆ
- วิธีนำเสนอหน้าสไลด์
- การบันทึกไฟล์ PowerPoint
- การบันทึกเอกสารแบบสร้างสำเนา
- เปิดไฟล์งาน PowerPoint ขึ้นมาปรับปรุงแก้ไขภายหลัง
- เปิดตัวช่วย (Help) การใช้โปรแกรม PowerPoint 2007
- ปิดไฟล์โปรแกรม PowerPoint 2007
- ออกจากโปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007


บทที่ 3 การจัดการกับแผ่นสไลด์
- เริ่มสร้างแผ่นสไลด์เปล่า
- การจัดการกับสไลด์
- การคัดลอกสไลด์ (Copy)
- วิธีแทรกสไลด์
- ลบแผ่นสไลด์ออกไป
Part 2 การจัดการกับออบเจ็กต์ (Object) บนสไลด์
บทที่ 4 พิมพ์ข้อความตัวอักษรลงสไลด์

- รู้จักเค้าโครงร่าง Place holder
- พิมพ์ข้อความเข้าไปใน Place holder
- ใส่หัวข้อย่อยและเลขลำดับ (Bullet and Numbering)
- ใส่ข้อความในสไลด์โดยใช้กล่องข้อความ (Text Box)
- ปรับแต่งข้อความแบบ 3 มิติด้วย Format Text Effects
- ใส่ตัวอักษรสวยๆ ด้วย WordArt
- ใส่ WordArt ลงในสไลด์
- จัดลำดับออบเจ็กต์ด้วยคำสั่ง Bring to Front และ Send to Back
- รวมกลุ่มออบเจ็กต์ด้วย Grouping

บทที่ 5 แทรกรูปภาพ ตาราง และกราฟลงสไลด์
- แทรกรูปภาพเข้ามาในสไลด์
- ปรับแต่งรูปภาพให้สวยงาม
- แทรกตารางเข้ามาในสไลด์
- แทรกกราฟเพื่อใช้ในงานนำเสนอ
บทที่ 6 สร้างผังองค์กร ไดอะแกรม และรูปทรงอิสระบนสไลด์
- สร้างผังองค์กรและไดอะแกรมด้วย SmartArt Diagrams
- วามเส้นและสร้างรูปทรงอิสระบนสไลด์

บทที่ 7 แทรกไฟล์เสียงและไฟล์วิดีโอลงสไลด์
- แทรกไฟล์เสียงจากแหล่งต่างๆ
- บันทึกเสียงบรรยายประกอบสไลด์
- แทรกไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ
Part 3 ตกแต่งสไลด์ให้สวยงามและกำหนดเอฟเฟ็กต์ให้กับออบเจ็กต์
บทที่ 8 เพิ่มสีสันลวดลายบนสไลด์ให้สวยงาม
- เปลี่ยนพื้นหลังสไลด์สำเร็จรูปด้วย Themes
- เปลี่ยนสีพื้นหลังด้วย Quick Styles
- ปรับแต่งสีด้วยโครงร่างสี (Color Scheme)
- ไล่ระดับสีพื้นหลังสไลด์ (Gradient fill)
- ใส่ลวดลายตกแต่งพื้นหลังสไลด์ (Texture)
- เปลี่ยนพื้นหลังสไลด์ด้วยรูปภาพที่ต้องการ
- ดาวน์โหลดสไลด์จากแม่แบบออนไลน์ (Template on Office Online)
- สร้างต้นสไลด์ไว้ใช้งาน (Slide Master)
บทที่ 9 ใส่ลูกเล่นเอฟเฟ็ตก์ให้กับแผ่นสไลด์และออบเจ็กต์ต่างๆ
- ใส่เอฟเฟ็กต์ขณะเปลี่ยนแผ่นสไลด์ (Slide Transition)
- ใส่เอฟเฟ็กต์ในกับออบเจ็กต์ในสไลด์
- กำหนดการแสดงเอฟเฟ็กต์ด้วยตนเอง (Custom Animation)
- การปรับแต่งเอฟเฟ็กต์อย่างละเอียด
- กำหนดเส้นทางการเคลื่อนไหว
- ใส่เอฟเฟ็กต์ให้กับกราฟ
- ใส่เอฟเฟ็กต์ให้กับผังองค์กร/ไดอะแกรม
บทที่ 10 เชื่อมโยงสไลด์ด้วย Hyperlink และ Action Button
- Hyperlink คืออะไร
- สร้างการเชื่อมโยงด้วย Hyperlink
- รู้จักกับปุ่มปฏิบัติการ Action Button
Part 4 จัดเตรียมเอกสารพรีเซนต์งานและการบรรยายนอกสถานที่
บทที่ 11 พิมพ์เอกสารประกอบการบรรยาย
- รูปแบบของการพิมพ์เอกสารประกอบการบรรยาย
- จัดทำบันทึกย่อของผู้บรรยาย (Speaker Notes)
- เปลี่ยนขนาดและตั้งข้อกำหนดให้กับพื้นที่พิมพ์สไลด์
- ปรับสไลด์ให้เป็นแนวตั้งหรือแนวนอน
- กำหนดรายละเอียดต่างๆ บนสไลด์
- ดูตัวอย่างก่อนพิมพ์
- พิมพ์เอกสารประกอบคำบรรยาย
- สั่งพิมพ์โดยไม่พิมพ์พื้นหลัง

บทที่ 12 เทคนิคใช้งานบนแผ่นสไลด์ในขณะนำเสนอ

- รู้จักปุ่มควบคุมในขณะนำเสนอ
- วิธีเลื่อนแผ่นสไลด์ไปข้างหน้าและย้อนหลัง
- การกระโดดข้ามไปยังแผ่นสไลด์ที่ต้องการ
- ขีดๆ เขียนๆ บนแผ่นสไลด์ด้วยปากกาเน้นข้อความ
- ซ่อนสไลด์ที่ไม่ได้ใช้งาน
- ทดลองจับเวลาในการนำเสนอ
- สร้างสไลด์สรุป (Summery Slide)
- กำหนดให้โปรแกรมนำเสนอแบบอัตโนมัติ
- ยกเลิกการนำเสนอ
บทที่ 13 การรวบรวมไฟล์ (Publish) และเทคนิคต่างๆ ที่น่าสนใจ
- ขั้นตอนการรวบรวมไฟล์ลงแผ่น CD-ROM
- วิธีใช้แผ่น CD-ROM เพื่อนำเสนองาน
- รู้จักกับ PowerPoint Viewer
- เทคนิคการนำเสนอโดยการแบ่งกลุ่มสไลด์ (Custom Show)
- การนำเสนอแบบอัตโนมัติด้วย Rehearse Timings
- ส่งไฟล์ PowerPoint ไปยังโปรแกรม Microsoft Word
- ส่งไฟล์ PowerPoint ผ่านทาง E-mail
- บันทึกไฟล์ PowerPoint ให้เป็นเว็บเพจ
- แชร์ไฟล์ PowerPoint ให้กับผู้อื่นอย่างปลอดภัย


บทความสอน Microsoft Powerpoint
1. การเก็บ Template ที่ออกแบบไว้ใช้งาน
2. การจัดเรียง Objects
3. การจัดเรียงลำดับงานที่ซ้อนกัน
4. การจับกลุ่มงาน
5. การใช้ Action Buttons ในการนำเสนองาน
6. การใช้ Callouts
7. การใช้ภาพเป็น Background รวมกับแบบฟอร์มสำเร็จรูป
8. การใช้รูปภาพเป็น Background
9. การใช้เส้นที่เป็นจุดเชื่อมต่อ

10. การตกแต่งพื้นหลังด้วยรูปแบบ Texture
11. การตกแต่งพื้นหลังแบบ Gradient
12. การทำให้โชว์สไลด์ไม่หยุดใน Ms Powerpoint 2003
13. การแทรกแถวหรือคอลัมน์ลงในตาราง
14. การเปลี่ยนสีในสไลด์ (Standard)
15. การเปลี่ยนสีสไลด์ (Custom)
16. การเปลี่ยนสีสไลด์โดยใช้เมนู Background
17. การเลือกพื้นของงานนำเสนอ
18. บทความและรูปภาพการวาดกราฟวิธีลัด
19. การวาดรูป Flowchart
20. การวาดรูปโดยใช้ Basic Shapes
21. การวาดรูปโดยใช้เส้น
22. การสร้างตารางใน Ms Powerpoint
23. การสร้างแผนผัง Organization Chat
24. การใส่ Header และ Footer
25. การใส่ Movies
26. การใส่เสียงเพลงจาก CD เพลง
27. เทคนิคการเปลี่ยนแผ่นสไลด์
28. ลูกเล่นการนำเสนองาน
29. ลูกเล่นการแสดงข้อความ
30. วิธีเพิ่ม Undo ใน PowerPoint
31. ข้อห้ามในการทำสไลด์บน PowerPoint
ภาพรวมของการใช้งานเนื้อหาภาพนิ่งร่วมกันและการนำมาใช้ใหม่
โดยใช้ Office PowerPoint 2007 คุณสามารถใช้งานเนื้อหาภาพนิ่งร่วมกันและนำมาใช้ใหม่ได้ด้วยการเก็บแฟ้มภาพนิ่งแต่ละแฟ้มในไลบรารีภาพนิ่งที่อยู่ส่วนกลางบนเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้ง Office SharePoint Server 2007 คุณยังสามารถประกาศภาพนิ่งไปยังไลบรารีภาพนิ่งและเพิ่มภาพนิ่งลงในงานนำเสนอของคุณจากไลบรารีภาพนิ่ง
เมื่อใช้โปรแกรมปรับปรุงไลบรารีภาพนิ่ง คุณสามารถทำให้ภาพนิ่งที่คุณแทรกลงในงานนำเสนอบนคอมพิวเตอร์ของคุณสัมพันธ์กับภาพนิ่งเดิมที่อยู่ในไลบรารีภาพนิ่งบนเซิร์ฟเวอร์ แต่ละครั้งที่คุณเปิดงานนำเสนอบนคอมพิวเตอร์ของคุณ PowerPoint จะแจ้งให้คุณทราบถ้ามีการปรับปรุงภาพนิ่งและให้โอกาสคุณละเว้นการปรับปรุง ผนวกภาพนิ่งใหม่กับภาพนิ่งที่ล้าสมัย หรือแทนที่ภาพนิ่งที่ล้าสมัยกับภาพนิ่งที่ปรับปรุง
เมื่อคุณเปลี่ยนแปลงภาพนิ่งที่มีอยู่ในไลบรารีภาพนิ่ง Office SharePoint Server 2007 จะประทับเวลาและเช็คเอาท์แฟ้มไปยังคุณโดยอัตโนมัติ แล้วประทับเวลาและตรวจสอบกลับไปเมื่อคุณเสร็จสิ้น Office SharePoint Server 2007 มีความสามารถในการกำหนดรุ่นที่คุณสามารถใช้ติดตามประวัติการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่ทำกับภาพนิ่ง เมื่อต้องการใช้ประโยชน์ของความสามารถในการกำหนดรุ่นไลบรารีภาพนิ่ง ให้ดูที่วิธีใช้ Office SharePoint Server 2007
เมื่อต้องการค้นหาตำแหน่งภาพนิ่งรุ่นล่าสุดในไลบรารีภาพนิ่ง เพียงกรองและเรียงลำดับในรายการไลบรารีภาพนิ่ง เมื่อต้องการศึกษาวิธีการค้นหาตำแหน่งภาพนิ่งรุ่นล่าสุด ให้ดูที่วิธีใช้ Office SharePoint Server 2007
Office PowerPoint 2007 จะจดจำตำแหน่งที่ตั้งของไลบรารีภาพนิ่งหลายไลบรารีโดยอัตโนมัติ เพื่อให้คุณสามารถค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของไลบรารีเหล่านั้นได้อย่างง่ายดาย
โดยใช้ไลบรารีภาพนิ่งที่มี Office SharePoint Server 2007 คุณสามารถทำดังต่อไปนี้
เก็บภาพนิ่งในตำแหน่งที่ตั้งที่ใช้ร่วมกันกับผู้อื่นในการเข้าถึง
ติดตามและตรวจทานการเปลี่ยนแปลงภาพนิ่ง
ค้นหาตำแหน่งภาพนิ่งรุ่นล่าสุด


ประโยชน์ของรูปแบบ Office XML คืออะไร
รูปแบบ Office XML จะแนะนำประโยชน์ต่างๆ ไม่เพียงแต่สำหรับนักพัฒนาและโซลูชันที่พวกเขาสร้างขึ้นเท่านั้น แต่ยังสำหรับบุคคลทั่วไปและองค์กรทุกขนาดด้วย
แฟ้มกระชับ แฟ้มจะถูกบีบอัดโดยอัตโนมัติ และเล็กลงได้ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ในบางกรณี รูปแบบ Office XML ใช้เทคโนโลยีการบีบอัดแบบซิปในการเก็บเอกสาร ซึ่งอาจช่วยประหยัดต้นทุนเนื่องจากลดเนื้อที่ดิสก์ที่ต้องการใช้เก็บแฟ้มและลดแบนด์วิดท์ที่ต้องการในการส่งแฟ้มทางอีเมล เครือข่าย และอินเทอร์เน็ต เมื่อคุณเปิดแฟ้ม แฟ้มดังกล่าวจะถูกคลายซิปโดยอัตโนมัติ เมื่อคุณบันทึกแฟ้ม แฟ้มดังกล่าวจะถูกซิปอีกครั้ง โดยคุณไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับซิปเป็นพิเศษเพื่อเปิดหรือปิดแฟ้มใน 2007 Office release
การกู้คืนแฟ้มที่เสียหายที่ผ่านการปรับปรุงให้ดีขึ้น แฟ้มจะมีโครงสร้างแบบโมดูลซึ่งจะเก็บคอมโพเนนต์ที่แตกต่างกันในแฟ้มแยกออกจากกัน การทำเช่นนี้เป็นการอนุญาตให้เปิดแฟ้มได้ แม้คอมโพเนนต์ภายในแฟ้ม (ตัวอย่างเช่น แผนภูมิหรือตาราง) จะเสียหายหรือมีปัญหา
การตรวจหาเอกสารที่มีแมโครทำได้ง่ายขึ้น แฟ้มที่บันทึกไว้โดยใช้ "x" ตามหลังเป็นค่าเริ่มต้น (เช่น .docx และ .pptx) ไม่สามารถมีแมโคร Visual Basic for Applications (VBA) หรือตัวควบคุม ActiveX ได้ ดังนั้นจึงไม่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอันเกี่ยวข้องกับชนิดของโค้ดฝังตัวเหล่านั้น มีเพียงแฟ้มที่มีนามสกุลของชื่อแฟ้มลงท้ายด้วย "m" (เช่น .docm และ xlsm) ที่สามารถมีแมโคร VBA และตัวควบคุม ActiveX ได้ ซึ่งเก็บอยู่ในอีกส่วนหนึ่งต่างหากภายในแฟ้ม นามสกุลของชื่อแฟ้มเฉพาะจะทำให้แยกแฟ้มที่มีแมโครออกจากแฟ้มที่ไม่มีได้ง่าย และทำให้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสแยกแยะแฟ้มที่มีโค้ดที่อาจเป็นอันตรายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ผู้ดูแลระบบ IT สามารถบล็อกเอกสารที่มีแมโครหรือตัวควบคุมที่ไม่พึงประสงค์ได้ ทำให้เปิดเอกสารได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นและควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ดีขึ้น คุณสามารถใช้เอกสารร่วมกันได้โดยไม่รั่วไหล เพราะข้อมูลที่ทำให้ระบุตัวบุคคลได้และข้อมูลที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น ชื่อผู้สร้าง ข้อคิดเห็น การเปลี่ยนแปลงที่ติดตาม และเส้นทางแฟ้มสามารถระบุได้และเอาออกได้ง่ายโดยใช้ตัวตรวจสอบเอกสาร สำหรับรายละเอียดดูที่ การเอาข้อมูลที่ซ่อนและข้อมูลส่วนบุคคลออกจากเอกสาร Office
มีความมั่นคงมากขึ้นและการดำเนินการระหว่างข้อมูลทางธุรกิจดีขึ้น การใช้รูปแบบ Office XML เป็นกรอบการทำงานในการดำเนินการระหว่างข้อมูลสำหรับชุดผลิตภัณฑ์ของ 2007 Office release หมายความว่าเอกสาร แผ่นงาน งานนำเสนอ และฟอร์มสามารถบันทึกในรูปแบบแฟ้ม XML ซึ่งให้ทุกคนใช้งานฟรีและมีสิทธิ์การใช้งานโดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ Office ยังสนับสนุน XML Schema ที่ลูกค้ากำหนดเองซึ่งเพิ่มชนิดเอกสาร Office ที่มีอยู่ หมายความว่าลูกค้าสามารถปลดล็อกข้อมูลในระบบที่มีอยู่อย่างง่ายดายและดำเนินการข้อมูลนั้นในโปรแกรม Office ที่คุ้นเคย ข้อมูลที่สร้างขึ้นภายใน Office สามารถใช้ได้อย่างง่ายดายโดยโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจอื่นๆ สิ่งที่คุณต้องการเพื่อเปิดและแก้ไขแฟ้ม Ofiice คือโปรแกรมอรรถประโยชน์ ZIP และโปรแกรมแก้ไข XML



คุณลักษณะต่อไปนี้จะเปลี่ยนขณะที่คุณเปิดงานนำเสนอ Microsoft Office PowerPoint 2007 ของคุณใน PowerPoint รุ่นก่อนหน้า (ที่ติดตั้ง แพคความเข้ากันได้ของ Office สำหรับรูปแบบแฟ้ม Word, Excel และ PowerPoint 2007 )

คุณลักษณะ Office PowerPoint 2007 สิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณลักษณะขณะที่คุณเปิดงานนำเสนอ Office PowerPoint 2007 ใน PowerPoint รุ่นก่อนหน้า
แผนภูมิ (ยกเว้นแผนภูมิ Microsoft Graph) แผนภูมิจะได้รับการแปลงเป็นวัตถุ OLE (OLE: เทคโนโลยีการรวมโปรแกรมที่คุณสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างโปรแกรมได้ โปรแกรม Office ทั้งหมดจะสนับสนุน OLE เพื่อให้คุณสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันผ่านวัตถุที่มีการเชื่อมโยงและวัตถุฝังตัวต่างๆ) ซึ่งคุณสามารถแก้ไขได้ อย่างไรก็ตาม แผนภูมิอาจจะมีลักษณะแตกต่างออกไปถ้าคุณแก้ไขแผนภูมิใน PowerPoint รุ่นก่อนหน้าแล้วมาเปิดแผนภูมิใหม่อีกครั้งใน Office PowerPoint 2007
เค้าโครง (เค้าโครง: การจัดเรียงองค์ประกอบบนภาพนิ่ง เช่น ชื่อเรื่องและชื่อเรื่องย่อยของข้อความ รายการ รูปภาพ ตาราง แผนภูมิ รูปร่างอัตโนมัติ และภาพยนตร์)ภาพนิ่งแบบกำหนดเอง เค้าโครงภาพนิ่งแบบกำหนดเองซึ่งมีพื้นหลังตามที่ระบุ การเปลี่ยนภาพนิ่งที่ไม่ซ้ำและอื่นๆ จะได้รับการนำเสนอเป็นหลายต้นแบบ (ต้นแบบ: มุมมองภาพนิ่งหรือเพจที่คุณได้กำหนดการจัดรูปแบบสำหรับภาพนิ่งหรือเพจทั้งหมดในงานนำเสนอของคุณ งานนำเสนอแต่ละงานจะมีต้นแบบสำหรับคอมโพเนนต์หลัก เช่น ภาพนิ่ง ภาพนิ่งชื่อเรื่อง บันทึกย่อของผู้บรรยาย และเอกสารประกอบคำบรรยายสำหรับผู้ชม)
เงาที่ตกกระทบ เงาจางด้านนอกจะได้รับการแปลงเป็นเงาเข้มที่คุณสามารถแก้ไขได้
สมการ สมการจะได้รับการแปลงเป็นรูปภาพที่คุณไม่สามารถแก้ไขได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าต่อมาคุณเปิดแฟ้มใหม่อีกครั้งใน Office PowerPoint 2007 สมการก็จะกลับมาแก้ไขได้อีกครั้ง
แบบอักษรหัวเรื่องและเนื้อความ แบบอักษรหัวเรื่องและเนื้อความจะได้รับการแปลงเป็นการจัดรูปแบบคงที่ ถ้าต่อมาคุณเปิดแฟ้มใหม่อีกครั้งใน Office PowerPoint 2007 และใช้ลักษณะที่แตกต่างออกไป แบบอักษรหัวเรื่องและเนื้อความจะไม่เปลี่ยนโดยอัตโนมัติ
รูปร่าง รูปภาพ วัตถุ (วัตถุ: ตาราง แผนภูมิ รูปภาพ สมการ หรือฟอร์มข้อมูลอื่น สำหรับวัตถุที่ถูกสร้างในโปรแกรมประยุกต์หนึ่ง ตัวอย่างเช่น กระดาษคำนวณ และถูกเชื่อมต่อหรือฝังตัวอยู่ในโปรแกรมประยุกต์อื่น คือ OLE Object) ภาพเคลื่อนไหว และลักษณะพิเศษใหม่รวมทั้งสิ่งต่อไปนี้
ข้อความแบบสองมิติ (2-D) หรือสามมิติ (3-D)
เค้าร่างไล่ระดับสีบนรูปร่างหรือข้อความ
เส้นขีดทับเดี่ยวและเส้นขีดทับคู่บนข้อความ
การเติมไล่ระดับสี รูปภาพ และพื้นผิวบนข้อความ
เงา ขอบนุ่ม การสะท้อน ลักษณะพิเศษแบบสามมิติส่วนใหญ่บนวัตถุทุกชนิด
คุณลักษณะหรือลักษณะพิเศษแบบเป็นภาพแบบใหม่ที่พร้อมใช้งานใน Office PowerPoint 2007 จะได้รับการแปลงเป็นรูปภาพที่ไม่สามารถแก้ไขได้ใน PowerPoint รุ่นก่อนหน้า
กราฟิก SmartArt กราฟิก SmartArt จะได้รับการแปลงเป็นรูปภาพที่ไม่สามารถแก้ไขได้ใน PowerPoint รุ่นก่อนหน้า
ชุดรูปแบบ (ชุดรูปแบบ: ชุดขององค์ประกอบที่ออกแบบรวมเพื่อให้ได้ลักษณะเอกสารของคุณ ด้วยการใช้สี แบบอักษร และรูปภาพ) ชุดรูปแบบจะได้รับการแปลงเป็นลักษณะ (ลักษณะ (style): การรวมกันของคุณลักษณะรูปแบบเช่น รูปแบบอักษร ขนาดอักษร และการเยื้องซึ่งคุณตั้งชื่อและเก็บไว้เป็นชุดได้ เมื่อคุณใช้ลักษณะนี้ คำสั่งในการจัดรูปแบบในลักษณะนี้จะใช้กับข้อความนั้นในครั้งเดียว) ถ้าต่อมาคุณเปิดแฟ้มใหม่อีกครั้งใน Office PowerPoint 2007 คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนลักษณะโดยอัตโนมัติได้โดยใช้ชุดรูปแบบ
ชุดรูปแบบสี (ชุดรูปแบบสี: ชุดของสีที่ใช้ในแฟ้ม ชุดรูปแบบสี ชุดรูปแบบอักษร และชุดรูปแบบลักษณะพิเศษล้วนประกอบเป็นชุดรูปแบบ) สีของชุดรูปแบบจะได้รับการแปลงเป็นลักษณะ (ลักษณะ (style): การรวมกันของคุณลักษณะรูปแบบเช่น รูปแบบอักษร ขนาดอักษร และการเยื้องซึ่งคุณตั้งชื่อและเก็บไว้เป็นชุดได้ เมื่อคุณใช้ลักษณะนี้ คำสั่งในการจัดรูปแบบในลักษณะนี้จะใช้กับข้อความนั้นในครั้งเดียว) ถ้าต่อมาคุณเปิดแฟ้มใหม่อีกครั้งใน Office PowerPoint 2007 คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนลักษณะโดยอัตโนมัติได้โดยใช้สีของชุดรูปแบบ
ลักษณะพิเศษของชุดรูปแบบ (ชุดรูปแบบลักษณะพิเศษ: ชุดของคุณลักษณะที่นำมาใช้กับองค์ประกอบในแฟ้ม ชุดรูปแบบลักษณะพิเศษ ชุดรูปแบบสี และชุดรูปแบบอักษรล้วนประกอบเป็นชุดรูปแบบ) ลักษณะพิเศษของชุดรูปแบบจะได้รับการแปลงเป็นลักษณะ (ลักษณะ (style): การรวมกันของคุณลักษณะรูปแบบเช่น รูปแบบอักษร ขนาดอักษร และการเยื้องซึ่งคุณตั้งชื่อและเก็บไว้เป็นชุดได้ เมื่อคุณใช้ลักษณะนี้ คำสั่งในการจัดรูปแบบในลักษณะนี้จะใช้กับข้อความนั้นในครั้งเดียว) ถ้าต่อมาคุณเปิดแฟ้มใหม่อีกครั้งใน Office PowerPoint 2007 คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนลักษณะโดยอัตโนมัติได้โดยใช้ลักษณะพิเศษของชุดรูปแบบ
แบบอักษรของชุดรูปแบบ (แบบอักษรของชุดรูปแบบ: แบบอักษรชุดหลักและรองที่นำมาใช้กับแฟ้ม ชุดรูปแบบอักษร ชุดรูปแบบสีและชุดรูปแบบลักษณะพิเศษล้วนประกอบเป็นชุดรูปแบบ) แบบอักษรของชุดรูปแบบจะได้รับการแปลงเป็นลักษณะ (ลักษณะ (style): การรวมกันของคุณลักษณะรูปแบบเช่น รูปแบบอักษร ขนาดอักษร และการเยื้องซึ่งคุณตั้งชื่อและเก็บไว้เป็นชุดได้ เมื่อคุณใช้ลักษณะนี้ คำสั่งในการจัดรูปแบบในลักษณะนี้จะใช้กับข้อความนั้นในครั้งเดียว) ถ้าต่อมาคุณเปิดแฟ้มใหม่อีกครั้งใน Office PowerPoint 2007


อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ(ครูเต้ง)
jadsadar2@hotmail.com  มือถือ 080-7158480




                                                                          Next

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การใช้โปรแกรม Microsoft Word





ผลการเรียนของนักเรียน
การใช้โปรแกรม Microsoft Word 
อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง)

                                                               

อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง)
( แนวข้อสอบ Microsoft word)
นักเรียนส่งงานเอกสารผ่านทางE-Mail
jas29950@hotmail.com
มือถือ 080-7158480

การใช้โปรแกรม Microsoft Word
โปรแกรม Microsoft Word เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่เหมาะกับ งานพิมพ์ต่าง ๆ แทนเครื่องพิมพ์ดีดในสมัยก่อน ที่เวลาแก้ไขค่อนข้างยาก ในขณะที่โปรแกรม Microsoft Word สามารถแก้ไข ลบตัวอักษร จัดรูปแบบตัวอักษรได้ง่ายกว่ามาก ดังนั้น ในปัจจุบัน โปรแกรม Microsoft Word จึงเป็นโปรแกรมที่แทนเครื่องพิมพ์ดีดในปัจจุบัน
การเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Word
1. คลิ๊กปุ่ม 
2. ขึ้นไปที่หัวข้อ Program
3. เลื่อนมาทางขวา คลิ๊กที่ Microsoft Word




การขอเส้นประบอกแนวกั้นหน้ากั้นหลัง
1. คลิ๊กที่เมนู เครื่องมือ
2. ลงมาคลิ๊กที่ คำสั่ง ตัวเลือก
3. ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ มุมมอง (แต่โดยปกติจะอยู่ที่หัวข้อ มุมมอง อยู่แล้ว)
4. คลิ๊กที่ช่อง ขอบเขตข้อความ ให้มีเครื่องหมาย ถูก ขึ้นมา

5. คลิ๊ก ปุ่ม ตกลง


การเปลี่ยนไม้บรรทัดด้านบน จากการวัดเป็นเซนติเมตร ให้ วัดเป็นนิ้วแทน
1. คลิ๊กที่เมนู เครื่องมือ
2. ลงมาคลิ๊กที่ คำสั่ง ตัวเลือก
3. ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ ทั่วไป
4. ลงมาที่คำว่า หน่วยการวัด คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมด้านหลัง เลือกคำว่า นิ้ว
5. ลงมาคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง


การติดตั้งตัวอักษร และขนาดของตัวอักษร ที่ใช้อยู่ประจำ
1. คลิ๊กที่เมนู รูปแบบ
2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง แบบอักษร
3. จะขึ้นหน้าต่าง แบบอักษร ในช่อง ข้อความภาษาไทย และอื่น ๆ ให้ปรับตัวอักษร และขนาดที่ต้องการได้เลย เช่น ปรับเป็น Angsana New ขนาด 16 และในช่อง ข้อความละติน ก็ต้องปรับให้ตัวอักษรเหมือนกันคือ Angsana New ขนาด 16
4. ด้านล่าง ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ค่าเริ่มต้น เครื่องจะถามว่าต้องการติดตั้งไหม คลิ๊กปุ่ม ใช่
การปรับกั้นหลัง
1. ด้านบนจะมีไม้บรรทัด ซึ่งขณะนี้จะกั้นหลังที่ 5.75 นิ้ว (5 นิ้ว ครึ่ง กับอีก 2 ขีด)
2. ถ้าต้องการจะกั้นหลังเป็น 6 นิ้ว
3. ให้เลื่อนเม้าส์ไปวางที่เส้นแบ่งตรง 5.75 นิ้วของไม้บรรทัด (เหนือเครื่องหมายรูป 5 เหลี่ยม) เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นลูกศร สีดำซ้าย-ขวา แล้วมีข้อความว่า ระยะขอบขวา จากนั้น กดเม้าส์ ค้างไว้ แล้วลากแนวกั้นหลังเป็น 6 นิ้ว

การตั้งระยะชั่วคราว (Tab) แท็ป เช่นถ้าเราต้องการตั้ง แท็ป ที่ 3 นิ้ว กลางกระดาษพอดี
1. เลื่อนเม้าส์ไปวางที่ไม้บรรทัดด้านบน ให้ปลายเม้าส์อยู่ใต้เลข 3 พอดี
2. คลิ๊กเม้าส์ จะเกิดสัญลักษณ์ เป็นรูปตัว L
3. ถ้าเราจะเลื่อนเคอร์เซอร์มาที่ แท็ป 3 นิ้ว บนแป้นพิมพ์ให้กดปุ่ม Tab
การล้างแท็ป (Clear Tab)
1. เลื่อนเม้าส์ชี้ตรงสัญลักษณ์แท็ปที่เราต้องการจะล้าง
2. กดเม้าส์ ค้างไว้ ลากลงมาในกระดาษแล้วปล่อย
การปัดบรรทัดเป็นระยะ 1 ครึ่ง
1. ให้เคอร์เซอร์อยู่ในบรรทัดที่เราจะปัด 1 ครึ่ง แล้วกดปุ่ม Ctrl + จ (0)
และถ้าจะกลับเป็นปัด 1 ปกติ
1. ให้เคอร์เซอร์อยู่ในบรรทัดที่จะปัด 1 ตามเดิม แล้วกดปุ่ม Ctrl + จ (0)
การเลื่อนเคอร์เซอร์ไปต้นเอกสาร
กดปุ่น Ctrl + Home
การเลื่อนเคอร์เซอร์ไปท้ายเอกสาร
กดปุ่ม Ctrl + End
การจัดข้อความในย่อหน้า ให้ด้านหลังตรงกัน
1. ให้เคอร์เซอร์ อยู่ในย่อหน้านั้น
2. ด้านบนในแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ชิดขอบ (ลักษณะเป็นเส้นหน้า-หลัง ตรงกัน)
การตัดคำลงมาบรรทัดใหม่ ในย่อหน้า เมื่อเครื่องตัดคำไม่สวย เราสามารถ ปัดคำนั้นลงมาบรรทัดใหม่ได้โดย
1. เลื่อนเคอร์เซอร์ ไปข้างหน้าข้อความที่จะตัด
2. กดปุ่มที่แป้นพิมพ์ คือ Shift + Enter


การนำรูปครุฑมาใส่ในจดหมายราชการ
1. เลื่อนเคอร์เซอร์มาต้นเอกสารก่อน โดยกดปุ่ม Ctrl + Home
2. คลิ๊กที่เมนู แทรก
3. ลงมาที่คำสั่ง รูปภาพ
4. ด้านขวา เลือกคำสั่ง จากแฟ้ม
5. จะขึ้นหน้าต่าง ถามที่เก็บรูป ซึ่งโดยปกติจะเก็บใน My Documents
6. คลิ๊กที่แฟ้ม ครุฑ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม แทรก
7. เครื่องจะดึงรูปครุฑมาใส่ที่จดหมายของเรา แต่จะใส่ไว้ด้านหน้าที่ออกหนังสือ ซึ่ง ณ ขณะนี้เวลาเราลากรูปเพื่อย้ายไปกลางกระดาษจดหมายของเรา จะยังไม่สามารถให้ตำแหน่ง เท้า ครุฑอยู่ตรงกับที่ออกหนังสือได้ ต้องทำขั้นตอนต่อไปครับ

การปรับให้รูปครุฑเคลื่อนย้ายได้อิสระ โดยที่ข้อความที่พิมพ์อยู่กับที่
1. คลิ๊กที่ รูปครุฑ (จะเกิดเส้นกรอบสีดำขึ้นมาที่รูปครุฑ)
2. เมื่อคลิ๊กที่รูปครุฑเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีแถบเครื่องมือขึ้นมา 1 แถบคือแถบเครื่องมือ รูปภาพ แต่ถ้า
คลิ๊กที่รูปครุฑไปแล้ว ไม่มีแถบเครื่องมือนี้ขึ้นมา วิธีการเรียกก็คือ เลื่อนเม้าส์ไปด้านบนขวามือ ในส่วนของแถบเครื่องมือ ให้เม้าส์อยู่ในพื้นที่สีเทา หลังแถบเครื่องมือ แล้วคลิ๊ก ขวา ของเม้าส์ จะมีรายชื่อแถบเครื่องมือมาให้เลือก ให้ลงไปคลิ๊กที่แถบ คำว่า รูปภาพ
3. ที่แถบเครื่องมือรูปภาพ ให้คลิ๊กปุ่มที่ 4 นับจากข้างหลัง (ปุ่มจะเป็นรูปหมา มีกรอบสี่เหลี่ยม) เมื่อเลื่อนเม้าส์ไปวาง จะมีคำว่า การตัดข้อความ ให้คลิ๊กลงไป แล้ว ลงไปเลือกคำสั่ง ข้างหน้าข้อความ (รูปครุฑจะเปลี่ยนจากกรอบสีดำ เป็น รอบครุฑเป็น สัญลักษณ์ สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีขาว รอบรูปครุฑ
4. จากนั้นนำเม้าส์ไปวางในรูปครุฑ คลิ๊กปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างไว้ แล้วเลื่อนรูปครุฑไปวางไว้กลางกระดาษของจดหมายได้เลย ตอนนี้ ข้อความต่าง ๆ จะอยู่กับที่แล้วครับ ถ้าเลื่อนไปแล้วรู้สึกยังไม่พอดี สามารถเลื่อนละเอียดได้โดยการ กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วใช้ลูกศรสี่ทิศที่แป้นพิมพ์เลื่อนรูปครุฑ จะเป็นการเลื่อนละเอียดขึ้น
การ Save ข้อมูล จะแบ่งเป็น 2 กรณี
ถ้าเป็นการ Save ครั้งแรก หมายถึง เพิ่งพิมพ์งานใหม่
1. คลิ๊ก เมนู
2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึกเป็น (Save As)
3. จะขึ้นหน้าต่าง Save As จากนั้นในช่องชื่อแฟ้ม เครื่องจะนำเอาบรรทัดแรกที่เราพิมพ์ มาเป็นชื่อแฟ้ม แต่ถ้าเราไม่เอาชื่อแฟ้มนั้นก็ ลบทิ้ง พิมพ์ชื่อแฟ้มที่ต้องการลงไปแล้ว คลิ๊กปุ่ม บันทึก


ถ้าเป็นการ Save งานเดิม หมายถึง เรียกขึ้นมาเพื่อแก้ไข แล้วจะ Save ที่เราแก้ไข
1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม
2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึก (Save)
3. ตรงนี้เครื่องจะไม่ขึ้นหน้าต่าง ใด ๆ เลย เครื่องจะทำการ Save ลงที่แฟ้มเดิมที่เราเรียกใช้อยู่ เพราะเครื่องทราบว่าจะ Save ที่แฟ้มใดอยู่แล้ว
การเปิดแฟ้มที่เราเคย Save ไว้ขึ้นมาใช้งาน
1. ด้านบนคลิ๊กที่เมนู แฟ้ม
2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง เปิด
3. จากหน้าต่างให้เราคลิ๊กที่แฟ้มที่เราต้องการเปิด
4. ด้านล่างขวาคลิ๊กที่ปุ่มเปิด

การเปลี่ยนตัวอักษร ขนาด ลักษณะตัวอักษร สี
1. นำเม้าส์มาลากยังข้อความในส่วนที่ต้องเราการจะเปลี่ยน
2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่ 2 (แถบจัดรูปแบบ)
3. ช่องที่ 2 ที่มีคำว่า Angsana New ช่องนี้คือแบบอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนแบบอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังคำว่า Angsana New จากนั้นเลือกตัวอักษรที่เราต้องการ โดยต้องเลือกตัวอักษรที่มีคำว่า New หรือ UPC อยู่หลังแบบอักษร เพราะแบบอักษรนี้จะใช้ได้กับภาษาไทย
4. ช่องที่ 3 ที่มีตัวเลขเป็น 16 ช่องนี้คือ ขนาดของตัวอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนก็ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมสีดำ หลังเลข 16 แล้วเลือกขนาดได้ตามใจชอบ
5. ช่องที่ 4 จะเป็นตัวอักษร B ถ้าเราคลิ๊กลงไปจะได้ตัวอักษร หนาขึ้น ถ้าไม่เอา ให้คลิ๊กซ้ำลงไป
6. ช่องที่ 5 จะเป็นตัวอักษร I จะเป็นการทำตัวเอียง
7. ช่องที่ 6 จะเป็นตัวอักษร U จะเป็นการทำตัวขีดเส้นใต้
8. ช่องสุดท้าย จะเป็นตัวอักษร A จะเป็นการเลือกสีตัวอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังตัว A จะมีสีต่าง ๆ ให้เลือก ถ้าเราไม่เอาสีนั้นแล้วให้คลิ๊กที่คำว่า อัตโนมัติ
9. ช่องที่อยู่หน้าปุ่ม A ที่เป็นรูปพู่กัน คือการระบายสี ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังรูปพู่กัน จะมีสี
ต่าง ๆ ให้เลือก แต่ถ้าเราเลือกไปแล้วจะไม่ต้องการระบายสี ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่มี
10. เมื่อเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว ให้นำเม้าส์คลิ๊กที่ไหนก็ได้ในกระดาษ เพื่อยกเลิกแถบ

การออกจากโปรแกรม Microsoft Word
1. คลิ๊กที่เมนู แฟ้ม
2. ลงมาคลิ๊กที่คำว่า จบการทำงาน
หรือ คลิ๊กที่ ปุ่ม กากบาท X ที่อยู่มุมบนสุดขวามือ ของหน้าต่าง อันบน จะมีคำว่า Close เพื่อใช้ในการปิดหน้าต่าง ก็มีค่าเท่ากับการจบการทำงาน
การตีตาราง
1. เลื่อนเคอร์เซอร์ให้อยู่ตรงตำแหน่งที่เราจะเริ่มตีตาราง
2. ด้านบน คลิ๊กที่เมนู ตาราง
3. เลื่อนลงมาที่คำว่า แทรก
4. ด้านขวา เลื่อนเม้าส์ คลิ๊กที่คำว่า ตาราง
5. จะขึ้นหน้าต่าง ถามเราว่า ต้องการตีตารางจำนวน กี่คอลัมน์ (แนวตั้ง) กี่แถว (แนวนอน) เราก็ระบุลงไป แล้ว ลงมาคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง


การทำจดหมายเวียน (Mail Merge)
1. พิมพ์จดหมาย หรือเอกสารที่ต้องการเป็นต้นฉบับให้เรียบร้อยก่อน แล้วทำการ Save ไว้
2. ตรงไหนที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูล ให้ทำการเว้นไว้
3. จากตัวจดหมายที่พิมพ์ ด้านบน คลิ๊กที่เมนู เครื่องมือ
4. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง จดหมายเวียน.......
5. จะขึ้นหน้าต่างที่ชื่อว่า ตัวช่วยเหลือการสร้างจดหมายเวียน
6. จากนั้น ในหัวข้อที่ 1 ให้คลิ๊กที่ปุ่มสร้าง แล้วเลือกคำว่า ฟอร์มจดหมาย
7. จะขึ้นหน้าต่างถามเอกสารที่จะใช้เป็นต้นฉบับ ให้คลิ๊กที่ ปุ่ม หน้าต่างที่ใช้งานอยู่
8. จากนั้นหน้าต่างจากข้อ 7 จะหายไปกลับมาที่หน้าต่าง ตัวช่วยเหลือการสร้างจดหมายเวียน อย่างเดิม
9. จากนั้น ในหัวข้อที่ 2 ให้คลิ๊กที่ปุ่ม รับข้อมูล แล้วเลือกคำว่า สร้างแหล่งข้อมูล (เพื่อเริ่มการป้อนข้อมูล)
10. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง สร้างแหล่งข้อมูล ให้คลิ๊กปุ่มเอาชื่อเขตข้อมูลออก เพื่อเอาเขตข้อมูลที่อยู่ในช่อง ชื่อเขตข้อมูลในแถวหัวเรื่อง ออกไปให้หมด
11. จากนั้น ในช่อง ชื่อเขตข้อมูล ให้เราพิมพ์ ชื่อเขตข้อมูลที่เราจะใช้ในจดหมายเวียน ลงไปจนครบ
12. จากนั้น กดปุ่ม ตกลง เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง เพื่อถามชื่อแฟ้ม ในที่นี้คือชื่อแฟ้มที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลที่เราจะนำมาใช้กับจดหมายของเรา เราก็พิมพ์ชื่อแฟ้มลงไปแล้วคลิ๊กที่ปุ่ม บันทึก
13. เครื่องจะขึ้นหน้าต่างขึ้นมา ให้คลิ๊กที่ปุ่ม แก้ไขเอกสาร
14. จากนั้นหน้าจอจะขึ้นหน้าต่างเพื่อให้เราป้อนข้อมูลต่าง ๆ ลงไป
15. เมื่อป้อนข้อมูลทุกอย่างเสร็จ ให้คลิ๊กปุ่ม ตกลง ด้านขวามือ
16. หน้าจอจะกลับมาที่งานจดหมายของเราอย่างเดิม แต่ด้านบนจะมีแถบเครื่องมืออันที่ 3 เพิ่มขึ้นมาอีก 1 แถบเครื่องมือ ซึ่งแถบเครื่องมือนี้เราเรียกว่า แถบ Mail Merge
17. จากนั้น ที่ตัวจดหมาย ให้คลิ๊กส่วนที่เราเว้นไว้เพื่อจะดึงข้อมูลมา
18. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่ 3 แถบ Mail Merge ให้คลิ๊กที่คำว่า แทรกเขตข้อมูลผสาน จะมีเขตข้อมูลให้เลือกว่า เราจะนำเขตข้อมูลผสานชื่อไหน เราก็คลิ๊กลงไป เครื่องก็จะพิมพ์ชื่อเขตข้อมูลนั้นลงตรงเคอร์เซอร์ที่เราวางไว้ (แต่เครื่องยังไม่แสดงข้อมูลออกมา)
19. ทำจนครบทุกช่องว่างที่เราจะเอาเขตข้อมูลมา
20. จากนั้นถ้าเราอยากดูข้อมูลจริง ที่แถบเครื่องมือ Mail Merge ให้คลิ๊กที่ปุ่ม แสดงข้อมูลผสานปุ่มที่ 3 ที่เป็นรูป << ABC >> สามารถเลื่อนไปข้อมูลที่ 2 , 3 , 4 ได้โดยกดปุ่ม สามเหลี่ยมชี้ขวา ข้างเลข 1
21. ถ้าไม่ต้องการดูข้อมูลจริงก็ให้คลิ๊กที่ปุ่ม << ABC >>
การขอดูตัวอย่างก่อนพิมพ์
1. ด้านบนคลิ๊กที่ปุ่มที่เป็นรูปกระดาษมีแว่นขยาย
2. เครื่องจะแสดงกระดาษเต็มจอภาพ (ขนาด เอ 4)
3. กลับมาที่งานพิมพ์อย่างเดิมให้คลิ๊กที่คำว่าปิดด้านบน
การพิมพ์ข้อมูลออกกระดาษ
1. คลิ๊กที่เมนู แฟ้ม ด้านบน
2. เลือกคำสั่ง พิมพ์
3. กำหนดค่าต่าง ๆ เสร็จแล้วคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง
การตั้งค่าหน้ากระดาษใหม่ โดยปกติโปรแกรม Word จะตั้งค่าหน้ากระดาษไว้ที่กระดาษขนาด เอ 4
1. คลิ๊กที่เมนู แฟ้ม
2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง ตั้งค่าหน้ากระดาษ
3. จะขึ้นหน้าต่าง ตั้งค่าหน้ากระดาษ
4. ด้านบนให้คลิ๊กหัวข้อ ขนาดกระดาษ
5. ในช่อง ขนาดกระดาษ ให้เลือกขนาดกระดาษตามต้องการ หรือจะปรับเองได้ในช่อง ความกว้าง และความสูง อีกทั้งยังปรับได้ว่า จะพิมพ์ตามแนวตั้ง หรือ ตามแนวนอน เสร็จแล้วคลิ๊กปุ่ม ตกลง
                                                                   แบบทดสอบผลการเรียนของนักเรียน(ปิดไพล์เสียง)


อาจารย์นายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ(ครูเต้ง)
jadsadar2@hotmail.com
มือถือ 080-7158480



                 
                                                                              Next